ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้

ผู้แต่ง

  • กรกฎ ทองขะโชค สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • จำนงค์ แรกพินิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สุทธิพร บุญมาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

จังหวัดชายแดนใต้, ความเชื่อมั่น, กระทรวงยุติธรรม

บทคัดย่อ

ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงยุติธรรม อันจะนำไปสู่การยกระดับความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ต่อการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรในการวิจัยในครั้งนี้คือประชาชน ผู้ใช้บริการต่อหน่วยงาน สังกัดกลุ่มภารกิจด้านพัฒนาพฤตินิสัยและสำนักงานยุติธรรมจังหวัดกระทรวงยุติธรรม จำนวน 27 หน่วยงาน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 630 คน และดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้บริหารในหน่วยงานสังกัดกรม และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด กระทรวงยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจัดเวทีประชุมกลุ่มเพื่อนำเสนอผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการได้รับประโยชน์ (Stakeholders) ตลอดจนนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประชาสังคม เอกชนเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการกำหนดแนวทางสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผลการวิจัยหน่วยงานในกลุ่มภารกิจด้านพฤตินิสัยการควบคุมไม่ใช่เพียงแต่ไม่ให้หลบหนี แต่ควรให้ผู้ต้องขังอยู่ในบริเวณโดยรักษาความศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อมั่นในคำพิพากษาด้วย ในส่วนผู้กระทำความผิดที่ภาครัฐดูแลแม้ว่าส่วนใหญ่ก็ไม่แตกต่างกับพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ แต่ด้วยความเป็นอัตลักษณ์ส่วนใหญ่จะเป็นพี่น้องมุสลิม หากแต่ละหน่วยงานสามารถสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนที่มาใช้บริการได้อย่างชัดเจน และถูกต้องก็สามารถยกระดับความเชื่อมั่นในหน่วยงานได้ งานยุติธรรมชุมชนภายใต้สำนักงานยุติธรรม จังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ควรเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเครือข่ายยุติธรรมชุมชนทำให้เกิดโอกาสทัดเทียมกันในความรู้สึกเดิมๆ ของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงการที่ภาครัฐเลือกปฏิบัติ

References

กรกฎ ทองขะโชค และจันทราทิพย์ สุขุม. (2557). อุปสรรคการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายด้านทรัพย์สินจากความรุนแรงตามกฎหมายในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารนิติศาสตร์, 43(2), 412-427.

กรกฎ ทองขะโชค. (2557). การบังคับใช้กฎหมายในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการนิติศาสตร์, 7(1), 1-20.

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2543). ทิศทางกระบวนการยุติธรรมไทยในศตวรรษใหม่. กรุงเทพฯ : ดีไซร์.

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2543). Criminal Justice Reform in Thailand : Current Problems and Future Prospect. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2546). การบริหารจัดการที่ดีภาครัฐ: เป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 40(4), 29-30.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะและบุญมี ลี้. (2544). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2557). แนวทางเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทยด้วยการสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ผ่านสุภาษิต คำพังเพย. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 7(2), 24-57.

ประพนธ์ สหพัฒนา และเสกสัณ เครือคำ. (2556). การประเมินประสิทธิภาพสถานีตำรวจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2545). การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม : หลักทฤษฎีและมาตรการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จำกัด.

สิริอร วิชชาวุธ. (2544). จิตวิทยาการอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2549). ชุดคู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้น

Asian Development Bank. (1995). Governance : Sound Development Management. Manila Philippines.

Blumberg, A.S. (1970). Criminal Justice. Chicago : Quadrangle Books.

Gilbert, J. & Tang, T. (1998). An Examination of Organizational Trust Antecedents. Public Personnel Management, 27(3), 321–338.

Gillis, T. (2003). More Than a Social Virtue: Public trust among organizations most valuable asset, Communication World, 20(3), 10–12.

Human Development Report. (1997). Published for the United Nations Development Programme. (UNDP) New York Oxford :Oxford University Press

Lewicki, R., McAllister, D., & Bies, R. (1998). Trust and Distrust: New relationship and realities, The Academy of Management Review, 23(3), 438-458.

Peter, K. (2001). The political environment of public management. New York: Longman.

Steers, R.M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.

United Nation Development Programme. (1997). Human Development Report 1997. New York: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30