การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจออนไลน์ในกลุ่มอุตสาหกรรมลวดสลิง
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, บริษัทลวดสลิงในประเทศไทย, อีคอมเมริช์, เทคโนโลยีสารสนเทศบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมุ่งเน้นศึกษาในอุตสาหกรรมธุรกิจออนไลน์อุตสาหกรรมลวดสลิงของประเทศไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นสนับสนุนการเติบโตของประเทศ นอกจากนี้งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับความสำเร็จต่อผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมลวดสลิง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และเก็บข้อมูลจากบริษัทลวดสลิงในประเทศไทย จำนวน 950 บริษัท โดยเฉพาะธุรกิจทำการซื้อขายสินค้าผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B2B และ B2C ด้วยวิธีการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ(Exploratory Factor Analysis : EFA) การทดสอบสถิติค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson Correlation) และการนำเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปัจจัยภายนอกองค์กรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับอัตราการเติบโตของยอดขาย/ กำไร และปัจจัยด้านความสามารถของบุคคลากรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุน
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2541). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และ ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2547). คัมภีร์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด.
เอกพล แฟงทอง และ พจนีย์ ภู่ทับทิม. (2524). เศรษฐศาสตร์กับการอธิบายหลักการของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
โกศล ดีศีลธรรม. (2009). การบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์.
น้อย ศิริโชติ. (2524). เทคนิคการฝึกอบรม กรุงเทพฯ : พีระพัฒนา
ไพศาล ลักขณานุรักษ์. (2555). การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
ยืน ภู่สุวรรณ และ สมชาย นำประเสริฐชัย. (2543). E-business ธุรกิจยุคสารสนเทศ กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
รัชดา บัวสำลี. (2553). ปัจจัยทีมีผลต่อการยอมรับการใช้รูปแบบ E-PAYMENT ของผู้บริการอินเตอร์เน็ต
วรรณภา สุโภชน์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กรณีศึกษา ธุรกิจออนไลน์ในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาระบบสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.
วิภาภรณ์ ดิษฐพร. (2545). ธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์: รูปแบบกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2546). แรงจูงใจในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มโลจิสติกส์. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2552). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2 ) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556.
ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. 2546. e-commerce FAQ คำถามนี้มีคำตอบ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
สมชาย จันทร์ศรีงาม. (2547). เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ.
สุตนธา สกุลศรีส่งบุญ. (2544). การศึกษาวิจัยเฉพาะกรณีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-SMEs) ในประเทศไทย. งานวิจัยเฉพาะกรณีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา.
สุพัตรา กาญจโนภาส (2544), ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไปใช้เพื่อสร้างความ ได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
อาณัติ ลีมัคเดช. (2546). e – commerce เรียนรู้พาณาชิย์อิเล็กทรอนิกส์ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ. เอ.อาร์.บิซิเนสเพรส.
Dubelaar, C, Sohal, A., & Vedrana, S. (2005). Benefits, impediments and critical success factor in B2C E-business Adoption. Technovation, 25(11), 1251-1252.
Oliver, R. L. (1980). A cognitive model of the antecedents and consequences of satisfaction decisions. Journal of Marketing Research, 17(4), 460-469.
Unctad. (2006). E-Commerce and development report 2006. Retrieved from October 12, 2014 from www.unctad.org.
Delone, W. H. (1992) Information Systems Success: The Quest for the Dependent Variable
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น