ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการจัดการการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์การพัฒนา, ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, การจัดการการศึกษา, ประชาคมอาเซียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการการศึกษาและเพื่อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการจัดการการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา วิธีวิจัยใช้วิธีวิทยาแบบผสมประชากร คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิคการสัมภาษณ์ เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT และเทคนิคการสนทนากลุ่ม
สภาพการจัดการการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อเปรียบเทียบกับต่างชาติ ปรากฏว่าเด็กไทย ยังต้องมีการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองอาเซียนและพลโลกอีกมาก ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และตัดสินใจในระดับสถานศึกษา ผู้บริหารสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานยังคงให้ความสำคัญกับครูไม่มากเท่าที่ควร ทั้งนี้ เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมีสัมฤทธิผล ขีดความสามารถและศักยภาพของครู ตลอดจนแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาผู้เรียนยังคงต้องมีการดูแลต่อไป สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่บริหารและจัดการการศึกษากับสถานศึกษาตามกฎหมายในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เช่น แก้ไขปัญหาสถานศึกษาบางแห่งขาดแคลนอัตรากำลังครูที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง การทำหน้าที่กำกับนิเทศและติดตามผลการดำเนินงาน เป็นต้น ปัจจุบันการทำหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา และการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การยกย่องให้เกียรติยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร
ดังนั้น จึงสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการจัดการการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์เชิงรุก ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เร่งสร้างความตระหนักในความสำคัญของการเป็นประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของครู ในการพัฒนาผู้เรียนสู่ประชาคมอาเซียน 2) ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบการกำกับนิเทศและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อรองรับความเป็นประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานเชิงประจักษ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2549). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่ [Organizational Leadership]. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2550). ทักษะผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: G. P. CYBERPRING.
นิเชต สุนทรพิทักษ์. (2539). เอกสารการอบรมเตรียมผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา รุ่นที่ 23. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
บุตรี จารุโรจน์. (2549). ภาวะผู้นำและการพัฒนาทีมงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พรศรี ฉิมแก้ว. (2552). ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเป็นมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะ-กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหา-วิทยาลัย.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). ภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ: การแสวงหาและแนวทางพัฒนา. สกลนคร: สถาบันราชภัฏสกลนคร.
สมชาย เทพแสง, และอรจิรา เทพแสง. (2549). ผู้นำยุคใหม่หัวใจของการปฏิรูป. กรุงเทพฯ: อัลฟ่า.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ปี 2555-2559. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.blesscon.com/index.php?lite=article&qid=41988698
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
Yukl, G. A. (2002). Leadership in organizations (5th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall International.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น