การเลือกประเภทสินค้าเพื่อผลิตและจำหน่าย กับการแข่งขันทางธุรกิจของ SMEs อาหารฮาลาลประเภทไก่ในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย และรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • คมวิทย์ ศิริธร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

อาหารฮาลาล, สินค้าขั้นกลาง, สินค้าขั้นสุดท้าย, ผู้ประกอบการ, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจเลือกประเภท สินค้าระหว่างสินค้าขั้นกลางและขั้นสุดท้ายเพื่อจำหน่ายของธุรกิจ SMEs อาหารฮาลาลประเภทไก่ โดยเปรียบเทียบระหว่างผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย และรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย รวมจำนวน 240 ตัวอย่าง ซึ่งสุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญตามจำนวนโควตาที่กำหนดในพื้นที่ทั้งสอง ตลอดจนวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Binomial logistic regression เนื่องจากความสามารถในการวิเคราะห์ปัจจัย ตามที่เป็นลักษณะข้อมูลแบบทวินาม และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของปัจจัยด้วยเทคนิค t-test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลามีระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าผู้ประกอบการในรัฐเคดาห์ถึงกว่าสามเท่าตัว เนื่องจากผู้ประกอบการในสงขลาเน้นการผลิตเพียงสินค้าขั้นกลางเป็นหลัก ในขณะที่ผู้ประกอบการในรัฐเคดาห์เน้นการผลิตทั้งสินค้าขั้นกลางและขั้นสุดท้าย นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมีผลให้ SMEs ในจังหวัดสงขลาเลือกผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายลดลงเพราะนำไปขยายการผลิตสินค้าขั้นกลางแทน แต่ปัจจัยด้านราคาของสินค้าขั้นสุดท้ายมีผลต่อการเลือกผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายในทิศทางเดียวกัน สำหรับผู้ประกอบการในรัฐเคดาห์ตัดสินใจเลือกสินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อจำหน่าย จากปัจจัยด้านราคาเท่านั้น ดังนั้นภาครัฐจึงควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการสนับสนุนเงินทุนแก่ SMEs อาหารฮาลาลประเภทไก่ในจังหวัดสงขลา โดยเน้นสนับสนุนทุนให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้าเป็นแบบขั้นสุดท้ายเป็นหลัก พร้อมผลักดันราคาสินค้าขั้นสุดท้ายในประเทศให้สูงกว่าราคาสินค้าขั้นกลางอย่าง มีนัยสำคัญ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น

References

กระทรวงพาณิชย์. (2559). สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย. สืบค้น 10 กันยายน 2559, จาก http://www2.ops3.moc.go.th/
กรมการค้าต่างประเทศ. (2556). สถานการณ์การค้าชายแดนไทย–มาเลเซีย ปี 2556 (มกราคม-เมษายน). สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://bts.dft.go.th/btsc/index.php/situationelse/situationmalaysia
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2557). ข้อมูลอุตสาหกรรมฮาลาล. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2558, จากhttp://ditp.go.th/contents_attach/86032/86032.doc
ชยันต์ ตันติวัสดาการ. (2552). เศรษฐศาสตร์จุลภาค: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นัสยา ขุนทอง. (2556). การศึกษาการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย ผ่านด่านศุลกากรสะเดา อำเภอสะเดา และด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2554). รายงานการศึกษาขั้นสุดท้ายบทวิเคราะห์ผลกระทบของประชมคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อผู้ประกอบการ SMEs ในสาขาที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
Charoenrat, T., Harvie, C., & Amornkitvikai Y. (2013). Thai manufacturing small and medium sized enterprise technical efficiency: Evidence from firm-level industrial census data. Journal of Asian Economics, 27, 42–56.
Garcia., L. R. (2009). European Markets as Challenges or Opportunities for Mexican SMEs’Internationalization: A Critical Analysis of Globalization. Perspectives on Global Development and Technology, 8, 372-398.
Rachmania, Ilma N., Rakhmania, M., & Setyaningsih S. (2012). Influencing Factors of Entrepreneurial Development in Indonesia. Procedia Economics and Finance, 4, 234–243.
The ASEAN Secretariat. (2015). ASEAN Economic Community Blueprint 2025. Jakarta, Indonesia: Public Outreach and Civil Society Division.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30