การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยของนักศึกษาจีนเอกภาษาไทยระดับปริญญาตรี สาธารณรัฐประชาชนจีน
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรมเชิงบูรณาการ, ความสามารถในการกล่าวสุนทรพจน์, นักศึกษาจีนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพความต้องการในการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยสำหรับนักศึกษาจีนเอกภาษาไทย ระดับปริญญาตรี สาธารณรัฐประชาชนจีน (2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยของนักศึกษาจีนเอกภาษา ไทย (3)ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเชิงบูรณาการชึ่งมีจำนวนชั่วโมงการอบรม 30 ชั่วโมงเพื่อพัฒนาความสามารถในการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยของนักศึกษาจีนเอกภาษาไทย (4) ประเมินผลการใช้หลักสูตฝึกอบรมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยของนักศึกษาจีนเอกภาษาไทย วิธีการวิจัยนี้ดำเนินการในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีทั้งหมด 4 ขั้นตอนซึ่งได้ทดลองใช้กับนักศึกษาจีนจำนวน 25 คน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ความต้องการพัฒนาความสามารถในการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.=.83) (2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในทุกประเด็น โดยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในระดับมาก = 4.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.=.61 (3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์เกี่ยวกับการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยของนักศึกษาจีนเอกภาษาไทย ระดับปริญญาตรีหลังการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรฝึกอบรม มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (4) ผลการประเมินการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .58 ซึ่งถือว่าหลักสูตรฝึกอบรมมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
References
จินดา ยัญทิพย์. (2547). การพัฒนากระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และเมตาคอกนิชัน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉันทนา ภาคบงกช. (2528). สอนให้คิด : โมเดลการพัฒนาทักษะการคิดเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ชัยนันท์ นันทพันธ์. (2539). เขียนคำกล่าวปราศรัยและสุนทรพจน์ให้ประทับใจ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด:ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศกร สมมิตร. (2552). การพัฒนาทักษะการพูดสุนทรพจน์ของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการพูดโดยใช้กระบวนการค่ายอัจฉริยะนักพูด (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2549). หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป: หลักการและวิธีดำเนินการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.(2552). ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินหลักสูตรและการเรียนการสอนหน่วย 1-5. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. (2552). ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินหลักสูตรและการเรียนการสอนหน่วย 6-10. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. (2552). ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินหลักสูตรและการเรียนการสอนหน่วย 11-15. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สมิต สัชฌุกร. (2547). การพดูต่อชุมชน. กรุงเทพฯ: สายธาร.
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2549). ถวายงานผ่านภาษา ตามรอยพระยุคลบาทช่วยชาติได้อย่างไร รวมบทสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระหว่าง ปี 2543 – 2548. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด ไอเดีย สแควร์.
ลักษณา สตะเวทิน.( 2536). หลักการพูด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Anderson, C. A., Miller, R. S., Riger, A. L., & Dill, J. C., (1994). Behavioral and characterological attributional styles as predictors of depression and loneliness: Review, refinement, and test. Journal of Personality 6- Social Psychology, 66, 549-558.
Fraenkel, J. R. (1980). Helping students think and value: strategies for teaching” The Social Studies. Eaglewood Cliffs, New Jersey: PrenticeHall.
Orth, J. L. (1982). University undergraduate evaluational reactions to the speech of foreign teaching assistants. Unpublished doctoral dissertation, University of Texas. (DAI (1983), 43: 12, 3897-A).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น