การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการประชาสัมพันธ์ของบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ผู้แต่ง

  • ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ
  • จารุวรรณ สกุลคู
  • อัจฉรา วัฒนาณรงค์
  • ณัฐวิภา สินสุวรรณ

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, ความสามารถในการประชาสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการประชาสัมพันธ์ของบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) (2) ศึกษา ประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ของ มทร. 98 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาจัดทำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม 3) การประเมินโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน 4) การทดลองใช้และประเมิน หลักสูตรฝึกอบรมโดยนำมาทดลองใช้กับเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ของ มทร.สุวรรณภูมิ 40 คน กำหนดแบบแผนการทดลองโดยใช้แบบ One Group Pretest-Posttest Design และเปรียบเทียบความแตกต่างของ ค่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองใช้หลักสูตรโดยใช้ Dependent Sample t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) หลักสูตรฝึกอบรมมีองค์ประกอบดังนี้ สภาพปัญหาและความจำเป็น หลักการของหลักสูตรฝึกอบรม จุดมุ่งหมายโครงสร้างหลักสูตร เนื้อหาแต่ละหน่วย กิจกรรม การฝึกอบรม เทคนิคการฝึกอบรม สื่อที่ใช้การวัดและประเมินผล หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 5 หน่วย คือ ด้านข่าว ด้านการพูด ด้านภาพ ด้านการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ และด้านการเผยแพร่และจัดกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรเห็นว่า มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมากที่สุดและ ทุกรายการในโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมมีความสอดคล้องกัน สามารถนำไปใช้วัดในการฝึกอบรมได้ (2) จากการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าฝึกอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังการเข้าฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการเข้าฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมโดยรวมในระดับมาก

References

กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2553). วิกฤติ กระบวนทัศน์ มโนทัศน์ เพื่อการปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กัญญา สิริสกุล. (2553). รายงานการวิจัย เรื่องบทบาทของนักประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). การประเมินผลจากสภาพจริง. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2542). การฝึกอบรมเชิงพัฒนา. กรุงเทพฯ: เออีฟวิ่ง.

จันทร์ โกศล, อมรรัตน์ วัฒนาธร, วารีรัตน์ แก้วอุไร, และอังคณา อ่อนธานี. (2556, ตุลาคม – ธันวาคม). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร,1(4), 33-44.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ, จารุวรรณ สกุลคู, อัจฉรา วัฒนาณรงค์, และณัฐวิภา สินสุวรรณ. (2559, มกราคม-มีนาคม). ความสามารถในการประชาสัมพันธ์ของบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 160-175.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ครุสภา.

พจนีย์ มั่งคั่ง. (2549, พฤศจิกายน 2548 - มีนาคม 2549). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุทธศาสตร์การสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. วารสารศึกษาศาสตร์, 17(2): 89-104.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2550). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ที่ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548. (2548.18 มกราคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 6ก, หน้า 17-27.

พิสณุ ฟองศรี. (2551). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พัฒนา สุขประเสริฐ. (2541). กลยุทธ์ในการฝึกอบรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้น.

วิเชียร อินทรสมพันธ์. (2546). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการบูรณาการจริยธรรมในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับครูมัธยมศึกษา. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ศิริพงษ์ เศาภายน. (2545). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการกับความขัดแย้งของตำรวจชุมชน.(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2552). เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน.: คัมภีร์ กศน.. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนเทรดดิ้ง.

เสถียร แป้นแหลือ. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำสำหรับผู้นำองค์กรกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุทัย ดุลยเกษม. (2556). ยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลอย่างรวดเร็ว. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), 105-109.

Buckley, R. & Caple, J. (2009). The Theory & Practice of Training. (6th ed). London: Replika Press.

Cronbach, L.J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: McGraw-Hill.

Fisher, C.D., Schoenfeldt, L.F. & Shaw, J. B. (1996). Human Resource Management. Bost on Houghton Miffin.

Henson, K.T. (1995). Curriculum Development for Education Reform. Addison: Wesley Education.

Johnson, D.W. & Johnson, F.P. (1994). Joning Together Group Theory and Group Skills. (5th ed.) Boston: Allyn and Bacon.

Kolb, D.A. (1984). Experiential Larning: Experience as the Source of Learning and Development. New Jersey: Prentice-Hall.

Silberman, M. (1998). Active Training: A Handbook of Techniques, Design, Case Examples and Tips. (2nd ed). California: Jossey-Bass Pfeiffer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01