การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรู้ของนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุรีรัตน์ อินทร์หม้อ

คำสำคัญ:

ความรู้, ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้, การเรียน, นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรู้ของนักศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล ด้านระดับความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนเพื่อเป็นแนวทางสำหรับให้คำปรึกษา โดยทำการสำรวจกับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทั้ง 4 ชั้นปี รวมจำนวน 385 คน มีการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับความรู้ของนักศึกษา โดยมีตัวแปรต้นประกอบด้วย เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา หลักสูตร ภูมิลำเนา รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองต่อเดือน (เฉพาะค่าใช้จ่ายส่วนตัว) และ ตัวแปรตามคือระดับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำมาวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่าทดสอบค่าที (Independent t-test) กับกลุ่ม ตัวอย่างที่มี 2 กลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม ถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) ผลการทดสอบสมมุติฐานที่น่าสนใจพบว่านักศึกษามีระดับความรู้ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เรียงลำดับจากน้อยไปมากคือ ชั้นปีที่ 1 2 3 สำหรับนักศึกษาปีที่ 4 มีระดับความรู้สูงกว่าชั้นปีที่ 1 และ 2 แต่ต่ำกว่าปีที่ 3 สำหรับนักศึกษาในชั้นปีที่ 4 เนื่องจากใกล้จบการศึกษาจึงไม่ได้ให้ความสนใจกับความรู้ ในด้านต่างๆ มากนัก ส่วนนักศึกษาในชั้นปีที่ 2 และ 3 เป็นช่วงที่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับวิชาเลือกที่เกี่ยว เนื่องกับผลการเรียนจึงให้ความสนใจกับความรู้ต่างๆ มากที่สุด อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถนำ ผลจากการวิจัยนี้ ไปใช้ประกอบคำแนะนำในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาได้

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ/สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

จามรกุล เหล่าเกียรติกุล.(2552). รูปแบบการให้คำปรึกษาด้านวิชาการเพื่อการจัดแผนการเรียนแบบปรับเหมาะกับ ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาด้วยเทคนิคผสมผสานภายใต้วิธีการให้เหตุผลโดยใช้กรณีเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ณัฐริน เจริญเกียรติบวร. (2549). การใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อช่วยในการแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่งกานต์ กันทะหงส์ และ สุทัศน์ ขันเลข. (2549). แนวทางการพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรสวัสดิ์ รัตนสุวรรณ. (2529). วิเคราะห์บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. ทุนอุดหนุนวิจัยและ ส่งเสริมการวิจัย. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม.

วิจารณ์ พานิช. (2550). การจัดการความรู้. สืบค้น 30 เมษายน 2554, จาก http://qa.siam.edu/KM/KM_Article4.pdf

วิสูตร จำเนียร. (2543). การปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับบทบาทในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในสถาบันราช ภัฏธนบุรี. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย กองบริการการศึกษา. (2540). ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้นท์ จำกัด.

สิริกร กรมโพธิ์. (2550). การศึกษาการใช้ระบบการจัดการความรู้สำหรับการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ. (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ และคณะ. (2548). Knowledge Management การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาระบบราชการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01