ความต้องการปัจจัยทางการตลาดการท่องเที่ยวชายแดน ณ ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
ความต้องการทางการตลาด, ปัจจัยทางการตลาด, การท่องเที่ยวชายแดนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องความต้องการปัจจัยทางการตลาดการท่องเที่ยวชายแดน ณ ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการปัจจัยทางการตลาด และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการปัจจัยทางการตลาดของนักท่องเที่ยว โดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชนและมีรายได้ประมาณ 20,001-30,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยทางการตลาดการท่องเที่ยวที่ต้องการมากที่สุดคือ ด้านลักษณะทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว รองลงมาคือ ด้านผู้อำนวยความสะดวกและด้านผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่านักท่องเที่ยวที่มีคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์จำแนกด้านเพศ และด้านอายุที่แตกต่างกันมีความต้องการปัจจัยทางการตลาดการท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน แต่พบ ความแตกต่างด้านการศึกษา ด้านอาชีพและด้านรายได้ นอกจากนี้ยังพบว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการปัจจัยทางการตลาดการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันในปัจจัยย่อย เช่น กลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาต่ำกว่า มัธยมศึกษากับกลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความต้องการที่แตกต่างกันในเรื่องของการท่องเที่ยวแบบประหยัด
References
กนกรัตน์ เพ็ชรกอ. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์การท่องเที่ยวชายแดน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรมประชาสัมพันธ์. (2559). มะริด...แหล่งท่องเที่ยวโอกาสการค้า การลงทุนแห่งใหม่. สืบค้น 2 มีนาคม 2559, จาก http://www.aseanthai.net
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). ฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงการตลาด. สืบค้น 2 มีนาคม 2559, จาก http://marketingdatabase.tat.or.th
คณะผู้แทนสหภาพยุโรป. (2559). สรุปช่องทางผ่านแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน. สืบค้น 4 มีนาคม 2559, จาก http://eeas.europa.eu/delegations/thailand/index_th.htm
ชัชวาล นิธิพิพัฒโกศล. (2547). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวบริเวณด่านชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ณัฏฐกิตดิ์ ตันสมรส. (2551). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวบริเวณด่านชายแดนไทย-ลาว ที่ด่านชายแดนช่องเม็กกับด่านชายแดนมุกดาหาร. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 4(1), 35-43.
มยุรดา สมัยกุล. (2557). แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน กรณีศึกษาตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25(1), 22-30.
วัชรี คำสุข. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติไทรทอง อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ (การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการการท่องเที่ยว). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วันสาด ศรีสุวรรณ. (2553). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของลุ่มน้ำตาปี (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวรรณา ขวาของ. (2548). การตลาดการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงเทศกาลแห่เทียนพรรษา ปี พ.ศ. 2548 (การศึกษาปัญหาพิเศษปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Coltman, M.M. (1989). Tourism Marketing. New York: Van Nostrand Reinhold.
Malhotra, R.K. (1998). Tourism Marketing. New Delhi: Anmol Publications.
Middleton, V.T.C. (1994). Marketing in Travel and Tourism. (2nd ed.) Oxford: Heinemann Professional Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น