ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ รัตนพันธ์

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, นักท่องเที่ยว, จังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่ เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลาและ 4) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการท่องเที่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม สำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย 230 คน และนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ 170 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วยไคสแควร์ และเปรียบเทียบหาความแตกต่างด้วยค่าทดสอบที และค่าทดสอบเอฟ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาท่องเที่ยว ในจังหวัดสงขลาโดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านอาหารและเครื่องดื่มมีค่าเฉลี่ย สูงสุด ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลาแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

กรมการท่องเที่ยว. (2558). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.tourism.go.th/home/listcontent/11/221/276.

ก้องภพ ภู่สุวรรณ.(2556). ปรับเชิงรุก ปลุกเชิงรับ จับกระแสนักท่องเที่ยวจีน. FAQ Focused And Quick, 89(June 19, 2014), 1-9.

จุฑาภรณ์ ฮาร์ล และศศิธร ง้วนพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 4(3), 415-426.

ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ และธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2557). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 66-79.

ดาลีซะห์ ดะยี นภัสนันท์ วินิจวรกิจกุล และปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ. (2557). พฤติกรรมการใช้บริการการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลางในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(2), 1-13.

ทรงสิน ธีระกุลพิศุทธิ์ และคณะ. (2556). โครงการการสังเคราะห์ข้อมูลจังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นัฐพร เกิดกลาง ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์ และพิสมัย จารุจิตติพันธ์. (2553). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 2(1),78-88.

นันตพร ศรีวิไล ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช และจาตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 92-106.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. นนทบุรี: เฟิร์นข้าหลวงพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ประพินรัตน์ จงกล และคณะ. (2557). กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5, 16 พฤษภาคม 2557, สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 113-122.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และภาคภูมิ ภัควิภาส. (2558). ความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชาวชุมชนแม่แมะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(3), 51-62.

รุ้งกาญจน์ แสวงกาญจน์. (2550). ปัจจัยที่ตัดสินใจมาท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยว ณ วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง.พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

เลิศพร ภาระสกุล. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริรัตน์ นาคแป้น. (2555). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการมาท่องเที่ยว

เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2558). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

สำนักงานเศรษฐกิจและการคลัง. (2559). สรปุการสัมมนาวิชากเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ 2559 ครั้งที่ 2/2559 ณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=10273

อมรรัตน์ วงศ์เป็ง. (2552). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 4(2), 39-57.

อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน และคณะ. (2555). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเขตกรุงเทพมหานครในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2012). Principles of Marketing (15thed.). UK: Pearson Education.

Sekaran, U. & Bougie, R. (2010). Research Methods for Business (5thed.). UK: John Wiley and Sons.

Solomon, M. R. (2015). Consumer Behavior (11thed.). NJ: Prentice-Hall.

Yamane, T. (1970). Statistics-An Introductory Analysis (2nded.). Tokyo: John Weather Hill, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01