การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารการศึกษาเทศบาล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
คำสำคัญ:
การพัฒนาตัวบ่งชี้, ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารการศึกษาเทศบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารการศึกษา เทศบาล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ 2) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก เป็นการพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ จากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารและการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่สอง การยืนยันตัวบ่งชี้และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารการศึกษาเทศบาล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน ซึ่งมีตัวอย่างที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ประกอบด้วยผู้บริหารการศึกษาเทศบาล จำนวน 255 ราย
ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารการศึกษาเทศบาล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยการหาฉันทามติของตัวอย่างที่มีความเห็นสอดคล้องกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ประกอบด้วยสามองค์ประกอบหลัก เรียงลำดับตามน้ำหนักของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จากมากไปน้อย ดังนี้ 1) ด้านปัญญา กระบวนการประกอบด้วยสามองค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านปัญญาบริบท ประกอบด้วยห้าองค์ประกอบย่อย 22 ตัวบ่งชี้ และ 3) ด้านปัญญาบุคคล ประกอบด้วย หกองค์ประกอบย่อย 32 ตัวบ่งชี้ และผลการทดสอบโมเดลโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
References
กฤชรัตน์ วิทยาเวช. (2551). การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดเมตาคอกนิชันด้านความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2550). ระเบียบ กฎหมาย และหนังสือสั่งการ การบริหารงานบุคคลครูและบุคลากรทางการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
กัณฑ์ธิมา นิลทองคำ. (2553). การจัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
คณะกรรมการคุรุสภา. (2556). ราชกิจจานุเบกษา ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: องค์การค้าแห่งคุรุสภา.
ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2543). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง (พิมพ์ครั้งที่ 6). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2548). ภาวะผู้นำ: พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2548). การพัฒนาระบบราชการไทย การพัฒนาองค์การและการสร้างองค์การเพื่อเรียนรู้ สืบค้น 15 พฤษภาคม 2557, จาก www.ranong.go.th/newsimg/download/file01.doc.
พิบูลย์ ทีปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
รวีวรรณ กลิ่นหอม. (2550). การพัฒนารูปแบบการวัดและเครื่องมือวัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนสายสามัญ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2550). รูปแบบของระบบการบริหารจัดการการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2542). องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2548). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร สพฐ. สืบค้น 5 มิถุนายน 2558, จาก www.202.143.169.120/gen/data/obce.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). ผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทยใน 5 ปีข้างหน้า. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ต เพรส.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปี ของการปฏิรูปการศึกษาพ.ศ. 2542-2551. กรุงเทพฯ: วีทีซีคอมมิวนิเคชั่น.
อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (2552). กลยุทธ์การบริหารภาวะวิกฤตสำหรับผู้นำองค์กร. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(122), 9-11.
Davies, B. (2003). Rethinking strategy and strategic leadership in schools. Educational Management and Administration 31(3), 295-312.
Davies, B.J. (2004). An Investigation into the Development of a Strategically Focused Primary School (Ed.D. thesis). Hull: University of Hull.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น