ความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการจ่ายเงินเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์นมโคพร้อมดื่มยูเอชทีในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • หทัยรัตน์ แซ่ลิ้ม สาขาบริหารธุรกิจ (วิชาเอกการจัดการธุรกิจค้าปลีก) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • พีรภาว์ ทวีสุข หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ผลิตภัณฑ์นมโคพร้อมดื่ม, ความตั้งใจในการจ่ายเงิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นส่วนประสม ทางการตลาดของผู้บริโภคต่อความตั้งใจในการจ่ายเงินเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์นมโคพร้อมดื่มยูเอชทีในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บตัวอย่างจากผู้ซื้อผลิตภัณฑ์นมโคพร้อมดื่มยูเอชทีจำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) และใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Gamma วัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่าเป็นไปในทิศทางบวกหรือลบ

ผลการทดสอบสมมติฐานงานวิจัย พบว่า ความคิดเห็นส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน (ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้ามีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการซื้อ โดยตัวแปรสินค้ามีรสชาติดี ดื่มง่ายและสินค้ามีกลิ่นหอมของนมที่เป็นธรรมชาติ ไม่แต่งกลิ่น มีค่าสัมประสิทธิ์ Gamma เท่ากับ .293 และ .278 สำหรับด้านราคาพบว่า ราคาควรมีความเหมาะสมกับคุณภาพของนม มีค่าสัมประสิทธิ์ Gamma เท่ากับ .199 ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าผู้ซื้อให้ความสนใจกับการจำหน่ายสินค้าผ่านร้านสะดวกซื้อมีค่าสัมประสิทธิ์ Gamma เท่ากับ .238 สุดท้ายด้านการส่งเสริมการตลาดพบว่าการมีของแถมเมื่อซื้อสินค้าเป็นแพ็คมีค่าสัมประสิทธิ์ Gamma เท่ากับ .275

References

กรรณิการ์ กันหาเขียว, พิชชาภรณ์ จักรนิล, มนต์ทิสา ครุฑธามาศ, วรรณวิศา อินทร์จันทร์, สุภาพร สร้อยไขและอภิญญา ราชรักษ์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภคนมเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. กรุงเทพมหานคร : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

จุฬาลักษณ์ ผังนิรันดร์.(2547). ผลของข้อความโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการโฆษณา). กรุงเทพมหานคร : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชญานิษฐ์ สุนนท์ชัย. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคนมแคลเซียมสูงในกลุ่มผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ดาวเด่น เพชรน้อย.(2551). องศ์ประกอบที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินคาหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ของประชาชน ในเขตจังหวัดหนองคาย (วิทยานิพนธ์ สาขาการจัดการทั่วไปคณะบริหารธุรกิจ). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธนพล เพียรพิทักษ์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่มตราทิปโก้ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ธิดารัตน์ ตุงคะบูรณะ.(2551). การโฆษณาผ่านจอ LCD บนรถไฟฟ้า BTS ที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้าของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์.สาขาสื่อสารมวลชน). กรุงเทพมหานคร : คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญญาพร เชื่อมสมพงษ์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์พร้อมดื่มของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เบญจมาภรณ์ สุวรรณพัฒน์.(2552). ทัศนคติของผู้บริโภคในอำเภอเมืองพะเยาต่อผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ. (วิทยานิพนธ์ สาขาการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร). เชียงใหม่ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ประเทศไทย. (2557). ความเป็นมาของเรา. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www.foremostforlife.com/aboutus/index.php#.VF4rucmUdcY

ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ประเทศไทย.(2558). ข่าวประชาสัมพันธ์. สืบค้น 30 ตุลาคม 2558, จาก http://dairydevelopmentprogram.weebly.com/35863656363436233611361936323594363436263633361736143633360936083660.html

วรรณภา ปรือทอง.(2547). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการดำเนินชีวจิตกับพฤติกรรมและทัศนคติในการบริโภคอาหารชีวจิตร้านเอเดนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการตลาด). กรุงเทพมหานคร : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิสา ฮับหลี. (2552). อิทธิพลของข้อมูลการกล่าวอ้างหน้าที่สารอาหารบนฉลากต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมสารอาหารของผู้บริโภค (ระดับวิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร). กรุงเทพมหานคร : คณะเทคโนโลยีอาหารมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริรัตน์ ตรีรัตน์. (2549). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). เชียงใหม่ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันอาหาร. (2558ก). การวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขัน. สืบค้น 30 มีนาคม 2558, จาก http://fic.nfi.or.th/food/upload/pdf/6_989.pdf

สถาบันอาหาร.(2558ข). รายงานตลาดอาหารเพื่อสุขภาพโลก. สืบค้น 30 มีนาคม 2558, จาก http://fic.nfi.or.th/index.php/research/nfi-research/835-2011-12-25-12-55-56

สถาบันอาหาร.(2558ค). รายงานตลาดอาหารโลก. สืบค้น 30 มีนาคม 2558, จาก http://fic.nfi.or.th/broadcast/WFMR_Feb2015.pdf

สถาบันอาหาร.(2558ง). รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน. สืบค้น 30 มีนาคม 2558, จาก http://fic.nfi.or.th/index.php/trade-a-market/hot-report/th-food-industry-monthly-situation/1892-28-02-2558

สถาบันอาหาร. (2558จ). อุตสาหกรรมนมพร้อมดื่ม. สืบค้น 30 มีนาคม 2558, จาก https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=0CB4QFjAA&url=http%3A%2F%2Ffic.nfi.or.th%2Ffood%2Fupload%2Fdoc%2F6_949.docx&ei=GAMgVYayBM-yuATAjYHgAQ&usg=AFQjCNGgC4X32YPM8cxzwhe8b7V3eItQy

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2556). สถิติโรคอ้วน. สืบค้น 18 เมษายน 2558, จาก http://www.diabassocthai.org/statistic/105

สราญรัตน์ ไพทักษ์ศรี. (2555). การบริโภคน้ำนมควายพันธ์มูร่าห์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). ดื่มนมจืดดีกว่านมปรุงแต่ง. สืบค้น 30 ตุลาคม 2557, จาก http://www.thaihealth.or.th /Content/24505%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87.html

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2552). คลายข้อสงสัย เรื่อง นม..มอ..นม. กรุงเทพมหานคร : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

สิริรัตน์ ชื่นบัว. (2550). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดของนมพร้อมดื่มยูเอชที “ตราจิตรลดา” (วิทยานิพนธ์สาขาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม). กรุงเทพมหานคร : คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุพร วิวัฒน์ศิริพงศ์. (2545). พฤติกรรมผู้บริโภคนมพร้อมดื่มในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์การจัดการธุรกิจเกษตร). สงขลา : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อรพร วนมงคล. (2544). การใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนฉลากมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มของผู้บริโภคอายุ 20-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ วิชาเอกโภชนวิทยา). กรุงเทพมหานคร :คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อรอุษา สุขวิรัช. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อธุรกิจร้านกาแฟสดในสถานีบริการน้ำมัน. กรุงเทพมหานคร : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bryson, D.(2012). The impact of Product Packaging on Consumers’ Purchase Decisions within a Low Involvement Product Category. Journal of Euro marketing, 21(2), 124-125.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. Experimental Designs. New York : Pergamon Press.

Kotler, P.(2003). Marketing management (11th ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Kozup J.C., Creyer E.H. & Burton, S. (2003). Making Healthful Food Choices: The Influence of Health Claims and Nutrition Information on Consumers’ Evaluations of Packaged Food Products and Restaurant Menu Items. Journal of Marketing, 67(2), p.19-34.

Stela, C., Konstantinos, R. & Gerasimos M. (2013). Consumers’ Purchase Intention towards Water Buffalo Milk Products (WBMPs) in the Greater Area of Tessaloniki, Greece. Procedia. Journal of Economics and Finance, 9(1), 407–416.

Wang, E.S.T. (2013). The Influence of visual packaging design on perceived food product quality, value, and brand preference. International Journal of Retail & Distribution Management, 41(10), 805-816.

World Health Organization.(2558). Obesity and overweight. Retrieved April 18, 2015, Form http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs311/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-02