สัญญาณเตือนภัยทางธุรกิจ: กรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ไพรินทร์ ชลไพศาล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สัญญาณเตือนภัยทางธุรกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาประเด็นของสัญญาณเตือนภัยทางธุรกิจในกรณีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาคือ การสร้างแบบจำลองทางสถิติที่สามารถสร้างสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าก่อนกรณีที่บริษัทจะเกิดปัญหา นอกจากนี้ยังใช้แบบจำลองในการพยากรณ์โอกาสของความล้มเหลวทางธุรกิจ การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินที่ปรากฏอยู่ในสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนปี 2554 และปี 2555 จำนวน 15 อัตราส่วน จาก 405 บริษัทที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นกลุ่มตัวแปรสำคัญในการพยากรณ์

ผลการศึกษาสรุปว่า ในกรณีประเทศไทยอัตราส่วนทางการเงินสามารถใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการพยากรณ์ความล้มเหลวของบริษัทจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่สามารถใช้ในการส่งสัญญาณเตือนภัยทางธุรกิจมีเพียงบางตัวเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราส่วนหมุนเวียนทรัพย์สินและอัตรากำไรสุทธิ โดยแบบจำลองมีความสามารถในการเตือนภัยได้แม่นยำที่สุดคือระยะเวลา 2 ปีก่อนการถูกเพิกถอนหลักทรัพย์ ความถูกต้องในการพยากรณ์ร้อยละ 95.1

References

กัญญาลักษณ์ ณ รังสี. (2548). การพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศ.

กัลยา วานิชย์บัญชี (2546). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กุลภัทรา สิโรดม (2549). การวิเคราะห์หลักทรัพย์ ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

กุสุมา ถิรตันตยากรณ์. (2549). การศึกษาแบบจำลอง Z – Score Model ของ Altman เพื่อใช้ทำนายภาวะล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (การศึกษาด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: ภาควิชาบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ. (2546). แบบจำลองการทำนายความล้มเหลวของผลประกอบการโรงสีข้าวสหกรณ์การเกษตรในภาคเหนือของประเทศไทย. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยากร ชินะรัตนกุล. (2544). ตัวแบบเตือนภัยล่วงหน้าทางการเงินสำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรินทร์ นาคจั่น. (2544). ปัจจัยที่กำหนดความล้มเหลวทางธุรกิจ กรณีศึกษา : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย สาขาเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภานุพงศ์ นิติประภา และอัจนา วัฒนานุกิจ. (2530). พฤติกรรมการถือสินทรัพย์และความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ไทย. สัมมนาวิชาการปี 2530. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วรัญญา ลาภเอกอุดม. (2548). การพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมประสงค์ เสนารักษ์. (2553). การจำแนกกลุ่มด้วยเทคนิค Discriminant Analysis (วิทยานพิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผล). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภชัย ศรีสุชาติ (2547). ตลาดหุ้นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Altman, E.I. (1968). Financial Ratios, Discriminant Analysis and the Prediction of Corporate Bankruptcy. The Journal of Finance, 23(4), 589-609

Dun & Bradstreet Corporation. (1995). 1994 Business Failure Record. New York: Dun and Bradstreet.

Wong, M.W. & Thomas, NG. (2010). Company Failure in the Construction Industry: a Critical Review and a Future Research Agenda.

Zeytinoglu, E. & Akarim, Y.D. (2013). Financial Failure Prediction Using Financial ratios: An Empirical Application on Istanbul Stock Exchange. Journal of Applied Finance & Banking,3, (3),107-116

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-02