โอกาสการค้าการลงทุนใน CLMV ภายหลัง AEC ปี 2558

ผู้แต่ง

  • ลักษณาวดี บุญชู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การค้า, การลงทุน, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์, เวียดนาม

บทคัดย่อ

ประเทศ CLMV อันประกอบด้วยกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนามเป็นเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดของไทย ปัจจุบันมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการพัฒนาประเทศเพื่อเตรียมการสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC(ASEAN Economic Community) ใน 2558 อีกทั้งที่ตั้งของไทยตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นฮับของ CLMV ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไทยในการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับประเทศเพื่อนบ้าน และ CLMV ยังเป็นตลาดรองรับสินค้าไทยได้เป็นอย่างดี

สปป. ลาว ลาวมีบทบาทเสมือนเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเซียมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญของลาว สินค้าที่มีศักยภาพได้แก่ กลุ่มสินค้า อุปโภคบริโภค กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพความงาม สินค้าเกษตร และเครื่องจักรกลการเกษตร สาขาที่มีศักยภาพในการลงทุน ได้แก่ การผลิตพลังงานไฟฟ้า ลอจิสติกส์เชื่อมโยงไทย-จีน-เวียดนาม เหมืองแร่ ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับสินแร่

เมียนมาร์ เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวของประชากรน้อยที่สุดในอาเซียน แต่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มาก อาทิเช่น ป่าไม้ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ อัญมณี และแร่ธาตุต่างๆ อีกทั้งมีศักยภาพสูงด้านเกษตรกรรมและประมง รวมทั้งแรงงานยังราคาถูก ส่งผลให้เมียนมาร์เป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดเมียนมาร์ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค จักรกลการเกษตร สำหรับโอกาสด้านการลงทุนในเมียนมาร์ จะเป็นด้านธุรกิจพลังงาน เหมืองแร่ การแปรรูปสินค้าเกษตร/ประมง เฟอร์นิเจอร์ ก่อสร้างและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ลอจิสติกส์ และสิ่งทอ เป็นต้น

กัมพูชา ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาคือการส่งออกเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ยังขยายตัวได้ดีจากการที่กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษทาง ด้าน GSP การเติบโตของการท่องเที่ยว การเกษตร อสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง กัมพูชามี อุปสงค์ในการบริโภคสินค้าและบริการเกือบทุกประเภทรวมทั้งเครื่องจักรกลการเกษตรในปริมาณที่สูง ลู่ทางการลงทุนที่มีศักยภาพได้แก่ โลจิสติกส์ การผลิตเสื้อผ้า รองเท้า การค้าผ่านแดน บริการ ท่องเที่ยว/ธุรกิจเกี่ยวเนื่องและร้านอาหาร เป็นต้น

เวียดนาม ภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามมีสัดส่วนสูงที่สุดใน CLMV ที่ระดับ 38.1% เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อย่างจริงจัง ส่งผลให้เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกโทรศัพท์สมาร์ทโฟน (อันดับ 7 ของโลก) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอีเล็คทรอนิกส์สำคัญของโลกจึงเหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมหลายชนิด สินคาไทยที่มีศักยภาพได้แก่ สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ชิ้นส่วน รถจักรยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง ลู่ทางการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ การก่อสร้าง ธุรกิจบริการและดูแลรักษารถจักรยานยนต์ และเครื่องสำอางรวมถึงการทำธุรกิจท่องเที่ยวแบบ Inbound Tourism และธุรกิจต่อเนื่อง เช่น สปา ภัตตาคาร เป็นต้น

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2558). ประเทศเมียนมาร์. สืบค้น 18 มิถุนายน 2558, จาก http://www.ditp.go.th/ditp_pdf.php?filename=contents_attacth/122367/122367.pdf&title=122367

_________________________________. (2558). ประเทศลาว. สืบค้น 18 มิถุนายน 2558, จาก http://www.ditp.go.th/dig_pdf.php?filename=contents_attach/122370.pdf&title=122370

_________________________________. (2558). ประเทศเวียดนาม. สืบค้น 18 มิถุนายน 2558, จาก http://www.ditp.go.th/dig_pdf.php?filename=contents_attach/122371.pdf&title=122371

_________________________________. (2558). สปป.ลาว. สืบค้น 25 ตุลาคม 2556, จาก http://www.ditp.go.th

_________________________________. (2558). AEC. สืบค้น 18 มิถุนายน 2558, จาก http://www.Thai-aec.com/158#ixxzz21g610u1E

_________________________________. (2558). โอกาสธุรกิจใน AEC. สืบค้น 18 มิถุนายน 2558, จาก http://www.imf.org.

_________________________________. (2558). CLM G GDP / capita doubles in last Decade. สืบค้น 18 มิถุนายน 2558, จาก http://www.clmvcapital.wordpress.com/2013/04/19/clmvs-gdp-percapita-doubles-in-last-decade/

_________________________________. (2558). Indonesia economy. สืบค้น 18 มิถุนายน 2558, จาก http://www.gbgindonesia.com/en/agriculture/directory/2014/bulog_persero_/interview.ph

_________________________________. (2558). โอกาสการค้าในอินโดนีเซีย. สืบค้น 18 มิถุนายน 2558, จาก http://aec.dipt.go.th

กระทรวงพาณิชย์ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2558). รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียนราชอาณาจักรกัมพูชา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

_________________________________. (2558). รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

_________________________________. (2558). รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

_________________________________. (2558). รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ประเทศกัมพูชา. (2558, 5 สิงหาคม). ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้น 4 มิถุนายน 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศกัมพูชา.

ประเทศพม่า. (2558, 28 กรกฎาคม). ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้น 4 มิถุนายน 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศพม่า.

ประเทศลาว. (2558, 13 สิงหาคม). ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้น 4 มิถุนายน 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศลาว.

ประเทศเวียดนาม. (2558, 25 มิถุนายน). ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้น 4 มิถุนายน 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศเวียดนาม.

Banyan. (2015). Cambodia-Miracle or mirage?. Retrieved August 28, 2015, from http://www.economist.com/news/boks-and-arts/21632433-biographysingular-strongman-miracle-or-mirage

________. (2015). Healing a wounded country Myanmar is looking less and less like a foreign-policy triumph for Barack Obama. Retrieved August 28, 2015, from http://www.economist.com/news/asia/216310-72-myanmar-looking-lessand-less-foreign-policy-triumph-barack-obama-healing-wounded

________. (2015). Measuring local economies-Laos. Retrieved August 28, 2015, from http://www.economist.com/news/blogs/banyan/2013/09/measuring-localeconomies

________. (2015). The strategic order in place in Asia since the Vietnam war is being challenged. Retrieved August 28, 2015, from http://www.economist.com/news/asia/21649515-strategic-order-place-asia-vietnam-war-beingchallenged-forty-years

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-02