การเปรียบเทียบมาตรฐานการดำเนินงานของสถาบันการเงินอิสลามของประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย
คำสำคัญ:
ระบบการเงินอิสลามธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, สถาบันการเงินอิสลามการเงินอิสลามในมาเลเซียบทคัดย่อ
สถาบันการเงินเป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจไทยให้มีการเติบโตการรวมตัวเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEANS) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้มีประชากร 600 ล้านคน เกินกว่าครึ่งเป็นชาวมุสลิม ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตามการเลือกใช้บริการทางการเงินของชาวมุสลิมจะมีปัจจัยด้านศาสนาเข้ามาประกอบการตัดสินใจ ด้วยหลักการที่ประชาชนมุสลิมทั่วโลกยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือการห้ามยุ่งเกี่ยวกับระบบดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจากแนวปฏิบัติของสถาบันการเงินทั่วไป ดังนั้น จึงเกิดสถาบันการเงินอิสลามขึ้นมารองรับตลาดในกลุ่มนี้โดยเฉพาะ จึงอาจกล่าวได้ว่าการมีสถาบันการเงินอิสลามที่ดำเนินการตามหลักการศาสนาและเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากล จะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ความสำเร็จของสถาบันการเงินอิสลามในประเทศมาเลเซีย ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของสถาบันการเงินที่ประสบความสำเร็จเป็นอันดับแรกของภูมิภาคนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันการเงินอิสลามอย่างเต็มรูปแบบเพียงแห่งเดียว คือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และหากเทียบกับสถาบันการอิสลามในประเทศมาเลเซียแล้ว ยังมีหลายประเด็นที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้ บทความนี้ต้องการเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการดำเนินงานของธนาคารอิสลามให้มีมาตรฐานที่ถูกต้องตามหลักการ รวมถึงหน่วยงานที่เข้ามากำกับดูแลนับเป็น ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ธนาคารมีมาตรฐานการดำเนินงานที่ดีและเป็นที่ยอมรับจากสากลและสามารถต่อสู่กับสถาบันการเงินอื่นในอาเซียนได้
References
กระทรวงการคลัง. (2557). การควบคุมกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ. สืบค้น 2 กันยายน 2557. จาก http://www.mof.go.th
นิพล แสงศรี . (2011). การเงินอิสลามท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้น 20 สิงหาคม 2557 . จาก http://www.islammore.com
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย. (2557). ประวัติการก่อตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย. สืบค้น 25 สิงหาคม 2557 . จาก http://www.ibank.co.th
อรุณ บุญชม. (2553). การดำเนินธุรกิจธนาคารตามหลักชะรีอะฮ์ กรุงเทพฯ: ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย. (2557). ประวัติการก่อตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สืบค้น 25 สิงหาคม 2557.จาก http://www.ibank.co.th
Hayat, U. (2009). A Primer on Islamic Finance. Research Foundation of CFA Institute. BalaShanmuqam :Monash University
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น