การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องการเป็นพลเมืองดีในสังคมวัฒนธรรมไทย
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, วิธีการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การเป็นพลเมืองดีในสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องการเป็นพลเมืองดีในสังคมวัฒนธรรมไทย 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การเป็นพลเมืองดีในสังคมวัฒนธรรมไทย โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นประชากรทั้งหมดที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์) กรุงเทพมหานคร จำนวน 37 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ในภาคเรียนที่ 2/2556 โดยใช้เวลาเรียนทั้งหมด 17 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 เรื่องการเป็นพลเมืองดีในสังคมวัฒนธรรมไทย สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ t-test dependent samples
ผลจากการวิจัย พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การเป็นพลเมืองดีในสังคมและวัฒนธรรมไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.11/ 82.97
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 16.84 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.13 ในส่วนการทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 24.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.17 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
ชลธร เวชศาสตร์ (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการสอนแบบซินดิเคทกับการสอนแบบธรรมสากัจฉา (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา)). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด : คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหาคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้น.
นวลลออ ทินานนท์. (2545). การคิดเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2), 36 - 42.
บรรจง อมรชีวิน. (2556). การคิดอย่างมีวิจารณญาณ : Critical Thinking : หลักการพัฒนาการคิดอย่างมีตรรกะ เหตุผล และดุลยพินิจ. นนทบุรี: อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรนิภา สมาเอ็ม. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการสอนแบบบูรณาการ ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 กับตามแนวคู่มือครู (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การมัธยมศึกษา)). กรุงเทพฯ :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิสณุ ฟองศรี. (2554). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์
ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2542). การนิเทศการศึกษา: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มนัส บุญประกอบ. (2547). พลิกปัญหาให้เป็นปัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มลิวัลย์ สมศักดิ์. (2540). รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารญาณของนักเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร)). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัตนาภรณ์ คำมูล. (2546) การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้วิธีการวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)) อุดรธานี: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎอุดรธานี.
สุคนธ์ สินธพานนท์ วรรัตน์ วรรณเลิศ และ พรรณี สินธพานนท์. (2552). พัฒนาทักษะการคิด-พิชิตการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2542). การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ : ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์. นนทบุรี: โครงการกิติเมธีสาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สุเมตตา คงสง. (2553). การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การศึกษาพิเศษ)). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์--การสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
อุษณีย์ โพธิสุข และคณะ. (2544). สร้างสรรค์นักคิด: คู่มือการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านทักษะความคิดระดับสูง. กรุงเทพฯ: ศูนย์แห่งชาติเพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2553). การพัฒนาทักษะความคิดระดับสูง (Developing Higher Level of Thinking Skills). นครปฐม: ไอ.คิว บุ๊คเซ็นเตอร์.
Ennis, R. H. (1985). A Logical Basic for Measuring Critical Thinging Skill. Educational Leadership. 43(2), 45-48.
Ferrell, S. D. (1992). Critical Thinking as a Function of Teacher Reaction. Dissertation Abstracts International. 52(9) : 3223A.
Norris, S.P. (1985). Synthesis of Research on Critical Thinking. Educational Leadership. 42(8), 40-45
Quellmalz, E. S. (1985). Needed : Better Method for Testing Higher Order Thinking Skill. Education Leadership. 43(2), 29-35.
Woolfolk, A.E. (1987). Educational Psychology (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall ,Inc
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น