ความสัมพันธ์ทางตรงและทางอ้อมของความรู้ทางวิชาชีพ ทักษะทางวิชาชีพและคุณค่าทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ภายใต้มาตรฐานสากลที่มีต่อผลการดำเนินงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในมุมมองของผู้ใช้บริการกลุ่มสินค้า อุตสาหกรรม และกลุ่มเทคโนโลยี ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความรู้ทางวิชาชีพ, ทักษะทางวิชาชีพ, คุณค่าทางวิชาชีพ, ผลการดำเนินงานบทคัดย่อ
จากการที่สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้กำหนดให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับนักวิชาชีพบัญชีประกอบด้วย ความรู้ทางวิชาชีพบัญชี ทักษะทางวิชาชีพบัญชี และคุณค่าทางวิชาชีพของนักบัญชี เพื่อพัฒนาให้ผู้สอบบัญชีในประเทศไทยปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ซึ่งผู้วิจัยต้องการศึกษาว่าความรู้ทางวิชาชีพ ทักษะทางวิชาชีพ และคุณค่าทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ที่มีต่อผลการดำเนินงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในมุมมองของผู้ใช้บริการกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และกลุ่มเทคโนโลยีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือไม่อย่างไร โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น ของผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและกลุ่มเทคโนโลยี จำนวน 381คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน t-test, F-test การวิเคราะห์ปัจจัยและการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในมุมมองของผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมให้ความสำคัญทางตรงต่อคุณค่าทางวิชาชีพ แต่สภาพจากความคาดหวังของผู้ใช้บริการให้ความสำคัญทางตรงต่อทักษะทางวิชาชีพส่วนทางอ้อม ทั้งในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและสภาพจากความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ให้ความสำคัญต่อความรู้ทางวิชาชีพโดยใช้ทักษะทางวิชาชีพและคำนึงถึงคุณค่าทางวิชาชีพซึ่งส่งผลทำให้เกิดการยอมรับ ความเชื่อถือและความผูกพันจากผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม
สำหรับผลการดำเนินงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและ ในสภาพจากความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ในมุมมองของผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มเทคโนโลยีให้ความสำคัญ ทางตรงต่อทักษะทางวิชาชีพ ส่วนทางอ้อมจากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้ความสำคัญทางอ้อมต่อความรู้ทางวิชาชีพโดยใช้ทักษะทางวิชาชีพ สำหรับสภาพจากความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ให้ความสำคัญทางอ้อมต่อความรู้ทางวิชาชีพโดยใช้ทักษะทางวิชาชีพและคำนึงถึงคุณค่าทางวิชาชีพซึ่งส่งผลทำให้เกิดการยอมรับ ความเชื่อถือและความผูกพันจากผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มเทคโนโลยี
นอกจากนี้ ยังพบว่าผลการดำเนินของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และสภาพจากความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีได้รับผลกระทบจากความรู้ทางวิชาชีพ ทักษะทางวิชาชีพ และคุณค่าทางวิชาชีพแตกต่างกัน
References
กาญจนา สิริกุลรัตน์ และคณะ. (2553). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). ฐานข้อมูลบริษัทที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้น วันที่ 15 กันยายน 2556, จาก http://www.taladhoon.com
ชัพวิชญ์ คำภิรมย์ . (2554). ผลกระทบของความรู้ ความสามารถทางบัญชีและประสบการณ์ด้านการสอบบัญชี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี). มหาสารคม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บวรลักษณ์ เงินมา. (2554). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีในความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดเพชรบรูณ์(วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
รัชนี แสงศรี. (2546). ศึกษาความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิลปพร ศรัจั่นเพชร.(2545). นักบัญชีกับ IEG9. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 24(92),12-19.
สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2549). ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความสามารถกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs . ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 28(109),83-92.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2556). แม่บทการศึกษาระหว่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 26 กรกฎาคม 2556,จาก www.fap.or.th/images/Column-1359010350/IES6-thai-26 June2013.Pdf.
สำนักงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ:ข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องความเป็นอิสระ-การหมุนเวียนผู้สอบบัญชี. สืบค้นวันที่ 26 กรกฎาคม 2556, จาก www.Sec.or.th/TH/RaisingFunds/Equity/Debt/Pages/Auditors.aspx.
สุดา สุวรรณาภิรมย์แสง,และวิชิต อู่อ้น. (2548). วิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัสเอ็กซ์เพรส.
Aaker, D. A.,Kumar, V & Say, G., S., (2001). Marketing Research. New York: John Wiley and Son.
Carcello, J V., Hermanson, R. H., & McGrath N.T. (1992) Audit Quality Attributes: The Perceptions of Audit Partner, Preparers, and Financial
Statement User. Auditing A Journal of Practice & Theory, 11,1, 11-15.
Carey P. & Simnett R. (2006) Auit Partner Tenure and Audit Quality. The Accounting Review. 81(3).653-676.
De Angelo, L. E., (1981). Auditor size and audit quality. Journal of Accounting and Economics, 3(3),183-199
International Federation of Accountants. (2003). International Education Standards for Professional Accountants. New York : International Federation of Accountants.
International Federation of Accountants. (2009). Framework for Professional Accountants. Retrieve. July26,2013,form http://www.ifac.org/sites/default/files/meeting/files/5046.pdf
Lee, C. F., John C. L. & Alice C. L. (2000). Statistics for business and Financial Economic.(2nd ed.). Singapore : World Scientific.
Nunnally, J. C,(1978). Psychometric Theory, New York: Mc Grawhill
Schroeder, Mary S., Solomon, I., & Vickery, D. (1986). Audit Quality : The Perception of Audit - Committee Chairpersons and Audit Partners.
Auditing: A journal of Practice & Theory, 5(2), 86-94.
Wooten, T. C., & Colson, R. H. (2003). Research about Audit Quality: CPA Journal. 73,1 (January. 2003), 48-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น