การลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อธิราช มณีภาค
  • บุญทัน ดอกไธสง
  • สอาด บรรเจิดฤทธิ์
  • บุญเรือง ศรีเหรัญ

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การลดอุบัติเหตุ, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการบริหารจัดการลดอุบัติเหตุทางถนน ในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและเพื่อศึกษาประสิทธิผล การบริหารจัดการลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงคุณภาพนั้นใช้ ระเบียบวิธีวิทยาการเป็นแนวทางหลักในการอธิบายปรากฏการณ์เพื่อตอบคำถามการวิจัย โดยการศึกษาวิจัยข้อมูลจากเอกสาร (Documentary research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร และผู้เชี่ยวชาญ ด้านการลดอุบัติเหตุทางถนน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) จำนวน 24 คน และบุคลากรหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนหรือภาคีเครือข่ายด้านการรณรงค์ลดอุบัติเหตุ ภาคประชาชน ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ผู้ขับขี่รถสาธารณะ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร เขตในสังกัดพื้นที่ของกรุงเทพมหานครจากประชากรเป้าหมาย 2,500 คน ที่เลือกโดยการสุ่มแบบ ชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่ายขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณตามสูตรของทาโรยามาเน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในเชิงประมาณมี จำนวนทั้งสิ้น 345 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม (Survey Questionaire)

ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการบริหารจัดการลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร นั้นได้ดำเนินการตามมติปฏิญญามอสโก ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้จัดให้มีการประชุมเมื่อ วันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2552 ณ กรุงมอสโก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย โดยประเทศไทยดำเนินการ ไปตามมาตรฐานสากล และตามกรอบแม่บทแห่งความปลอดภัยทางถนน ตามมาตรการ 5E ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ซึ่งพบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าเกิดจากคน (คนขับและควบคุมยานพาหนะและคนเดินถนน) เกิดจากยานพานหนะรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เกิดจากสภาพของถนนและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสาเหตุหลักพบว่าพฤติกรรมของคน ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ ความประมาท ความไม่มีจิตสำนึก ความไม่มีวินัยในการใช้รถใช้ถนน ฝ่าฝืนระเบียบกฎหมายต่างๆ เกิดจากสภาพของยานยนต์ ถนนและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามลำดับ และยังพบว่าการบริหารจัดการลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานครมีหน่วยงานซ้ำซ้อน อำนาจหน้าที่ไม่มีความชัดเจน การบริหารจัดการจึงไม่เป็นเอกภาพ การประสานงานระหว่าง หน่วยงานต่างๆ กับกรุงเทพมหานครจึงยังไม่มีผลสัมฤทธิ์เป็นไป ตามเป้าหมายที่ทางศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนนได้มุ่งหมายไว้ โดยเฉพาะจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานครยังไม่ลดลงตามเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ ที่ให้ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ.2564 (ในอัตราการเสียชีวิตในแต่ละปี ไม่ให้เกินจำนวน ร้อยละ 10 คน ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน)

References

กรมทางหลวง.(2556). ภูมิศาสตร์สารสนเทศด้านการขนส่งและจราจร. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร.

จุฬาภรณ์ โสตะ. (2541). กลยุทธ์เพื่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ. วารสารศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.8(1), 18-22.

ธงชัย สันติวงษ์. (2543). องค์การและการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

นิศา ชูโต. (2551).การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัย. (2553). รายงานประชาชนผลงานปี พ.ศ.2552-2553. กรุงเทพมหานคร: พริ้นต์โพร.

สถาบันวิจัยเพื่อการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2546). สถานการณ์ปัญหาความยากจนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2552, จาก http://www.tdri.or.th/poverty/report1.htm.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล.(2556) . สถิติอุบัติเหตุจราจรในเขตกรุงเทพมหานครปี พ.ศ. 2550-2556. กระทรวงคมนาคม. กรุงเทพมหานคร. โฟร์เพซ.

Luther, E. & Urwick, L. (1973). Paperson the Science of Administration. New York, Columbia University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-02