แนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์ทางการตลาดภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ฌัชฌานันท์ นิติวัฒนะ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ทางการตลาด, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทางประชากรศาสตร์ของประธานกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาดภายใต้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ความคิดเห็นของประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมากและประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้บ้างแต่น้อยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์ทางการตลาดภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้ใช้วิจัยแบบผสมโดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 31 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณา และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ T-Test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus Group) กับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพทางประชากรศาสตร์ของประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 55 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีอาชีพหลักคือเกษตรกร ส่วนใหญ่ประเภทกิจการของ วิสาหกิจชุมชน คือ แปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร มีทุนส่วนตัว มีระยะเวลาการดำเนินการ 7 ปีขึ้นไป เงินลงทุนเริ่มแรกของกิจการต่ำสุดคือ 800 บาทในกลุ่มกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภท การแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนเงินลงทุนเริ่มแรกของกิจการที่ใช้เงินลงทุนเริ่มแรกสูงสุด คือ กิจการเครื่องดื่ม คือ ประมาณ 3,000,000 บาท รายได้ของกลุ่มต่อปีของกิจการต่ำสุด คือ 8,000 บาท ในกลุ่มกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภทเครื่องจักสาน ส่วนรายได้ของกลุ่มต่อปีของกิจการสูงสุด คือ กิจการเครื่องดื่ม คือ ประมาณ 1,200,000 บาท รายจ่ายของกลุ่มต่อปี ของกิจการต่ำสุดคือ 2,000 บาท ในกลุ่มกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภทผลิตภัณฑ์สมุนไพร ส่วนรายจ่ายของกลุ่มต่อปีของกิจการสูงสุด คือ กิจการเครื่องดื่ม คือ ประมาณ 600,000 บาท เงินปันผลกลุ่มต่อปีของกิจการต่ำสุดคือ ไม่มีการปันผล ในกลุ่มกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภท การแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร การผลิตพืช เครื่องจักรสาน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร การผลิตปัจจัย การผลิต และเครื่องดื่ม ส่วนเงินปันผลของกลุ่มต่อปีของกิจการสูงสุด คือ กิจการเครื่องจักสาน คือ ประมาณ 140,000 บาท

2. มีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่นโดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติปานกลาง

3. การทดสอบสมมุติฐานพบว่าประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทีใช้กลยุทธ์ทางการตลาดภาย ใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากและประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดภายใต้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้บ้างแต่น้อยที่แตกต่างกัน มีผลต่อการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดโดยรวม ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่แตกต่างกัน

4. แนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์ทางการตลาดภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น มีดังนี้ 1) ด้านผลผลิต เน้นเรื่องการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด ผลิตสินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลิตสินค้าต้องมีความซื่อสัตย์ ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตลอดกระบวนการผลิตอย่างซื่อสัตย์สุจริต 2) ด้านราคา เน้นตั้งราคาตามคุณภาพสินค้า ให้เครดิตในการซื้อสินค้า/ขายเงินเชื่อตามหลักวิชาการ สมาชิกรู้ความเคลื่อนไหวของราคาผลิตภัณฑ์ ตั้งราคาที่ยุติธรรม ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค และไม่เน้นกำไรระยะสั้น 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีเครือข่าย ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาเปรียบผู้จัดจำหน่าย และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าในระยะยาว 4) ด้านการส่งเสริมการตลาดเน้นโฆษณาสินค้าไม่เกิน ความจริง แนะนำสินค้าแบบปากต่อปาก มีการจัดแสดงสินค้า มีส่วนลดและแถมสินค้า จัดกิจกรรม เพื่อกลับคืนสู่ชุมชน รู้จักแบ่งปันและรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกันในสังคม

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549) . สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาฎอนงค์ นามบุดดี และอุมารินทร์ ราตรี. (2552) แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพ การจัดการเศรษฐกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน โดยเน้นค่านิยมตามแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา กลุ่มเศรษฐกิจชุมชน อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นราวุฒิ สังข์รักษา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดราชบุรี (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยะวัน เพชรหมี. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

วิชิต นันทสุวรรณ. (2549). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ยูโรปาเพรส.สุวกิจ ศรีปัดถา. (2549).

การประยุกต์หลักการจัดการธุรกิจตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชน. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2557). รายงานการยื่นจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน. สืบค้น เมื่อ 12 มกราคม 2557. จาก http://smce.doae.go.th/smce1/main.php

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03