การประยุกต์ใช้ซิกซ์ซิกม่าร่วมกับระบบ Toyota Production System ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานของแผนกตัวถังและสีบริษัทโตโยต้า สงขลา จำกัด

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ พรหมมนตรี สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • วราภรณ์ สุขแสนชนานันท์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

การปรับปรุง, ซิกซ์ซิกม่า, Toyota Production System, แผนกตัวถังและสี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและปรับปรุงกระบวนการทำงานของแผนกตัวถังและสี บริษัทโตโยต้า สงขลา จำกัด โดยประยุกต์ใช้ซิกซ์ซิกม่าร่วมกับ ระบบ TPS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานวิจัยได้แก่ รถที่เข้ามารับบริการในบริษัท โตโยต้า สงขลา จำกัด ช่วงเดือนพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ 2557 โดยจำนวนรถในการจับเวลาก่อนและหลังการปรับปรุงด้วยระบบ TPS นั้น ใช้อย่างละ 30 คัน คำนวณจากการแจกแจงแบบ Z ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% + 5% การดำเนินการวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษากระบวนการทำงานของแผนกตัวถังและสีของบริษัทโตโยต้า เพื่อนำมาวิเคราะห์ตามแนวคิดซิกซ์ซิกม่าร่วมกับระบบ TPS ซึ่งแนวคิดซิกซ์ซิกม่าประกอบด้วยขั้นตอนการแก้ปัญหา 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการนิยามปัญหา 2) ขั้นตอนการวัดสภาพของปัญหา 3) ขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา 4) ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข และ 5) ขั้นตอนการควบคุมสำหรับแนวคิดของระบบ TPS จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหานั่นเอง ผลการวิจัยพบว่า 1) สามารถลดเวลาการทำงานได้โดยรวม 15 ชั่วโมง 25 นาที คิดเป็น 9.12% 2) ผลการเปรียบเทียบเวลาการทำงานระหว่างก่อนและหลังการปรับปรุงด้วยระบบ TPS รวมทุกขั้นตอนมีผลคือไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทำการทดสอบแต่ละขั้นตอนพบว่า เวลาการทำงานระหว่างก่อนกับหลังการปรับปรุงด้วยระบบ TPS ของขั้นตอนการประเมินราคาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 และเวลาการทำงานระหว่างก่อนกับหลังการปรับปรุงด้วยระบบ TPS ของขั้นตอนซ่อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 การประยุกต์ใช้ซิกซ์ซิกม่าร่วมกับระบบ Toyota Production System ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานของแผนกตัวถังและสี บริษัทโตโยต้า สงขลา จำกัด สามารถลดเวลาโดยรวมได้และเป็นการเพิ่มอัตราการส่งมอบตามเวลาที่สัญญาในการรับรถจาก 0.67 เป็น 0.83 คิดเป็น 16.67%

References

กมลรัตน์ ศรีสังข์สุข. (2553). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตสายเคเบิลขนาดเล็กโดยแนวทางลีนซิกซิกซ์มา. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.ej.eng.chula.ac.th/thai/index.php/ej/article/download/68/48

กรมการขนส่งทางบก. (2556). สถิติการขนส่งประจำไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม – ธันวาคม 2556). สืบค้น 3 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.m-society.go.th/article_attach/11458/15774.pdf

ชุลีรัตน์ ก้อนทอง. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของอู่ซ่อมรถยนต์และศูนย์บริการของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.ex-mba.buu.ac.th/research/BKK/Ex-23-Bkk/51721730/index.html

ประวิทย์ ถาวร และสรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้แนวคิดการผลิตแบบโตโยต้าร่วมกับแนวคิดซิกซ์ ซิกมา กรณีศึกษา : การผลิตเพลารถยนต์. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2557, จาก http://kucon.lib.ku.ac.th/Fulltext/KC4811048.pdf

ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. (2556). คดีอุบัติเหตุจราจรทางบกและมูลค่าความเสียหายทั่วราชอณาจักร ปีพ.ศ. 2541 – 2556 รายปี. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2557, จาก http://social.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=161&emplate=1R2C&yeartype=M&subcatid=45

ศรินทิพย์ ธีรธนิตนันท์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์โตโยต้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.thaiejournal.com/?p=88

สถิติกรมการขนส่งทางบก. (2557). จำนวนรถจดทะเบียน (สะสม) ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2557. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.insure.co.th/index.php/2010-07-19-04-16-36/start-land-transport/4823--31-2557

แสงระวี เทพรอด และคณะ. (2556). การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. ในการประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556, เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2556). ตารางคดีอุบัติเหตุจราจรทางบกและมูลค่าความเสียหายทั่วประเทศ รายเดือน. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.m-society.go.th/article_attach/13516/17567.pdf

อาวุธ เกื้อกิม. (2554). การประยุกต์ใช้ระบบ Toyota Production System เพื่อปรับปรุงการทำงานและลดเวลาการ ให้บริการลูกค้าซ่อมรถเช็คระยะ กรณีศึกษา: บริษัทโตโยต้าพิษณุโลก ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2557, จาก http://202.28.199.3/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=285774&display=list_subject&=A1D2%C3%B5%C3%C7%A8

Barry, E. & Asahi, F. (2000). Kaizen and technology transfer instructors as work-based learning facilitators in overseas transplants: a case study. Journal of Workplace Learning, 12.(8), 333-342.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03