การประยุกต์ใช้ตัวแบบถดถอยโทบิท-พีซไวส์กับข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มีปัญหาค่านอกเกณฑ์

ผู้แต่ง

  • ธิฏิรัตน์ ทิพรส

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์การถดถอยโทบิท-พีซไวส์, การวิเคราะห์การถดถอยโทบิท, ตัวแบบถดถอยพีซไวส์, ขีดจำกัด, ของตัวแปรตามค่านอกเกณฑ์ในการวิเคราะห์การถดถอย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้กล่าวถึงการประมาณค่าพารามิเตอร์ในตัวแบบถดถอยโทบิท-พีซไวส์ ที่พัฒนาขึ้นโดย Mekbunditkul (2010) เพื่อจัดการกับปัญหาค่านอกเกณฑ์ที่เกิดขึ้นในการวิเคราะห์ การถดถอย การประมาณค่าพารามิเตอร์ในตัวแบบถดถอยนี้ใช้วิธีการประมาณแบบภาวะน่าจะเป็นสูงสุด ดังนั้นตัวประมาณที่สร้างได้จะมีคุณสมบัติคงเส้นคงวาและปกติเมื่อใกล้อนันต์ (Consistency and Best asymptotically normal) ในบทความนี้ได้มีการกล่าวถึงการแปลผลค่าสัมประสิทธิ์ การถดถอยในตัวแบบถดถอยโทบิท-พีซไวส์ ที่สามารถแปลความหมายได้สองประเด็น ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรตามและการเปลี่ยนแปลงความน่าจะเป็นของตัวแปรตาม เมื่อตัวแปร อิสระเปลี่ยนแปลงไปหนึ่งหน่วย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งได้มีการ กล่าวถึงตัวอย่างงานวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่ข้อมูลมีขีดจำกัดบน และ/หรือขีดจำกัดล่าง หรือ ข้อมูลมีค่านอกเกณฑ์ และแนวทางการนำตัวแบบถดถอยโทบิท-พีซไวส์ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลจริง เพื่อให้เห็นประโยชน์ของตัวแบบถดถอยโทบิท-พีซไวส์ได้อย่างชัดเจน

References

Bray, M. (1999). The shadow education system: Private tutoring and its implications for planners. Fundamentals in Educational Planning. Paris: UNESCO International Institute for Educational Planning (IIEP).

Bray, M. & Kwok, P. (2003). Demand for private supplementary tutoring: Conceptual considerations and socio-economic patterns in Hong Kong. Economics of Education Review, 22, 611–620.

Greene, W.H. (1981). On the Asymptotic Bias of the Ordinary Least Squares Estimator of the Tobit Model. The Econometric Society, 42(March), 505-513.

McDonald, J.F. & Moffitt, R.A. (1980). The Uses of Tobit Analysis. The Review of Economics and Statistics, 62(May), 318-321.

Mekbunditkul, T. (2010). An Alternative Estimation for Regression Coefficients with Outliers (Dissertation). Bangkok: National Institute of Development Administration.

Psacharopoulos, G. & Papakonstantinou, G. (2005). The real university cost in a ‘‘free’’ higher education country. Economics of Education Review, 24(1), 103–108.

Quandt, R.E. (1958). The estimation of the Parameters of a Linear Regression System Obeying Two Separate Regimes. Journal of the American Statistical Association, 53, 873-880.

Rousseeuw, P.J. & Leroy, A. M. (1987). Robust Regression and Outlier detection. New York : John Wiley & Sons. Stair, A., Rephann, T. & Heberling, M. (2006). Demand for public education: Evidence from a rural school district. Economics of Education Review, 25, 521–531.

Tansel, A. & Bircan, F. (2006). Demand for education in Turkey: A tobit analysis of private tutoring expenditures. Economics of Education Review, 25, 303–313.

Thipbharos, T. (2014). What can Tobit-piecewise regression tell us about the determinants of household educational debt?. Journal of International Education Studies, 7(4), 1-13.

Thipbharos, T. (2015). The Derivation of Maximum Likelihood Estimation for Linear Relation with Outliers. International Journal of Applied Mathematics and Statistics, 53(3).

Tobin, J. (1958). Estimation of Relationships for Limited Dependent Variables. Econometrica, 26, 24-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03