การลดความสูญเปล่าในกระบวนการบรรจุหอมหัวใหญ่โดยเทคนิคการผลิตแบบโตโยต้า: ศึกษาโรงงานถาวรการเกษตร

ผู้แต่ง

  • ไพศาล ลาภสมบูรณ์ชัย สาขาวิชาการจัดการ (สาขาการจัดการธุรกิจ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

คำสำคัญ:

กระบวนการบรรจุหอมหัวใหญ่, ระบบการผลิตแบบโตโยต้าความสูญเปล่า, การไหลอย่างต่อเนื่อง, การผลิตแบบทันเวลาพอดี, การปรับปรุงกระบวนการ, สินค้าเกษตร

บทคัดย่อ

หอมหัวใหญ่ นับเป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่งที่ผลผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบจากผลผลิตจากประเทศอื่นทั้งในตลาดภายในและนอกประเทศ มีการชะลอการสั่งซื้อหอมหัวใหญ่ที่ผลิต ภายในประเทศและปริมาณการส่งออกลดลง การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นในการหาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการบรรจุหอมหัวใหญ่ โดยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการตามแนวคิดของระบบการผลิตแบบโตโยต้า จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่โรงงานถาวรการเกษตร ซึ่งเป็นโรงงานหลักในธุรกิจการบรรจุหอมหัวใหญ่ โดยตั้งอยู่ในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นแหล่งเพาะปลูกหอมหัวใหญ่ที่สำคัญของประเทศ เริ่มต้นจากการศึกษากระบวนการบรรจุโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มรับซื้อหอมหัวใหญ่ การคัดแยกหอมหัวใหญ่ที่เน่าเสียและไม่ได้ขนาด การคัดแยกขนาดตามคำสั่งซื้อของลูกค้า การบรรจุภัณฑ์และการชั่งน้ำหนักมาตรฐาน จนพร้อมที่จะจัดส่งบรรจุภัณฑ์หอมหัวใหญ่ออกจากโรงงาน และการศึกษาปัญหาและความสูญเปล่าในกระบวนการร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงงาน พบว่าเกิดขึ้นจากปัจจัย 4 ประการ คือ (1) ขั้นตอนการทำงาน (2) พนักงาน (3) อุปกรณ์ และ (4) หอมหัวใหญ่ที่เป็นวัตถุดิบ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเปล่า 4 ประการ คือ (1) การขนส่งที่มากเกินไป (2) การมีขั้นตอนการผลิตที่มากเกินไป (3) การรอคอยในการ ปฏิบัติงานและ (4) การมีชิ้นงานที่บกพร่องและของเสีย โดยสามารถกำหนดแนวทางการปรับปรุงกระบวนการบรรจุพร้อมแนวทางการควบคุมที่ปรับปรุงแผนผังการผลิต ขั้นตอนและวิธีการทำงานตามเทคนิคการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องหรือ ไคเซ็น จากการสังเกตและปรับปรุงงานในระบบการผลิตแบบโตโยต้า โดยมุ่งเน้นให้การทำงานมีการไหลของกระบวนการและหอมหัวใหญ่อย่างต่อเนื่องมากขึ้นโดยมีรอบการผลิตที่ชัดเจนจากการกำหนดแผนการผลิตในแต่ละวัน การปรับผังโรงงานเพื่อลดระยะทางและระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายและลดขั้นตอนการทำงานที่มากเกินไป การลดกระบวนการซ้ำซ้อนซึ่งมากเกินความจำเป็นโดยลดจำนวนรอบการผลิตและลดจำนวนครั้งในการเริ่มการผลิต (Set Up) ในแต่ละขนาด การปรับเรียบการผลิตจัดให้มีระบบการผลิตแบบดึงและสายการผลิตแบบคู่ขนาน ฯลฯ การปรับปรุงข้างต้นทำให้เกิดแผนผังตามกระบวนการผลิตที่ดีขึ้นสามารถควบคุมด้วยสายตาได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ ได้มีการจัดอุปกรณ์ความปลอดภัยในการทำงานให้แก่พนักงาน รวมทั้งกำหนดมาตรการในการควบคุมกระบวนการ ได้แก่ การกำหนด แบบฟอร์มการวิเคราะห์ความสูญเปล่าของกระบวนการ และแบบฟอร์มประเมินผลการปฏิบัติงานตามกระบวนการ

References

ประยูร เชี่ยววัฒนา. (2555). ไคเซ็นในธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ส.ส.ท.

วันชัย ริจิรวนิช. (2543). การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม: เทคนิคและกรณีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). (2552). Kaizen Best Practices. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ส.ส.ท.

สุทธิ สินทอง. (2555). เคล็ดลับเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงงานให้ได้ผลใน 6 เดือน. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556). คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร. สืบค้น 1 เมษายน 2558, จาก http://www.nstda.or.th/industrial-research/2914-food-agriculture-cluster

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). เกาะติดการผลิต-การตลาดหอมหัวใหญ่ ปี 58 สศก. มั่นใจ เตรียมแผนคุมการนำเข้าอย่างดีช่วยเกษตรกร. สืบค้น 1 เมษายน2558, จาก http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=19167&filename=index

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). สศก. คาดปี 58 ผลผลิตมันฝรั่งลด แจงราคาหอมแดง-หอมใหญ่-มันฝรั่ง ปรับตัวขึ้น. สืบค้น 1 เมษายน2558, จาก http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=19674&filename=index

Baudin, M. (2005). Lean Logistics: The Nuts and Bolts of Delivering Materials and Goods. New York: Productivity Press.

Liker, J.K. (2004). The Toyota Way: 14 Management Principles from The World’s Greatest Manufacturer. New York: McGraw Hill, Inc.

Liker, J.K. & Meier, D. (2006). The Toyota Way Fieldbook: A Practical Guide for Implementing Toyota’s 4Ps. New York: McGraw Hill, Inc.

Russell, R.S. & Taylor, B.W. (2000). Operations Management. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Womack, J.P. & Jones, D.T. (2003). Lean Thinking: Banish Waste and Create Wealth in Your Corporation. New York: Simon & Schuster, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03