อิทธิพลของการบริหารความเสี่ยงองค์กรที่มีต่อมูลค่ากิจการที่วัดโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐพัชร์ นวลมณีฐิติ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธูรกิจบัณฑิตย์
  • พัทธนันท์ เพชรเชิดชู วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิริเดช คำสุพรหม วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยงองค์กร, มูลค่ากิจการ, โมเดลสมการโครงสร้าง

บทคัดย่อ

การบริหารความเสี่ยงองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อมูลค่ากิจการขององค์กร ตามแนวคิดของ COSO ได้แบ่งความเสี่ยงองค์กรเป็น 4 ด้าน คือ ด้านกลยุทธ์ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการเงินและการรายงานและด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการ คือ ด้านสภาพคล่องของกิจการ และด้านความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารความเสี่ยงองค์กรที่มีต่อมูลค่ากิจการที่วัดโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านปัจจัยการดำเนินงานภายในองค์กร โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ เลือกบริษัทในกลุ่มดัชนี SET100 ปี พ.ศ. 2558 – 2561 จำนวน 61 บริษัท เก็บข้อมูลจากรายงานทางการเงินและรายงานประจำปี เทคนิคที่ใช้ในการวิจัยคือการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และสมการโครงสร้างโดยใช้วิธีวิเคราะห์เส้นทาง ผลวิจัยพบว่าการบริหารความเสี่ยงองค์กรด้านกลยุทธ์ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการเงินและการรายงาน และด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องมีอิทธิพลทางตรงต่อมูลค่ากิจการเมื่อผ่านปัจจัยการดำเนินงานภายในองค์กรด้านความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยสามารถนำรูปแบบความสัมพันธ์ที่ได้มาวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงในองค์กรได้อย่างเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดมูลค่ากิจการที่ดีต่อไปในอนาคต

References

พรรณนุช ชัยปินชนะ, และณัฏฐ์ปาลิตา ศรีคาหน้อย. (2561). การจัดการความเสี่ยงของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(2), 46-55.

มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2548, เมษายน-มิถุนายน).การประเมินผลการปฏิบัติงานตามแนวคิด Tobin-Tobin’s Q. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 28(106), 13-22.

Ballantyne, R. (2013). An empirical investigation into the association between enterprise risk management and firm financial performance (Doctoral dissertation). Available from ProQuest Dissertations & Theses Global. (UMI No. 1335138343)

Beasley, M., Pagach, D., & Warr, R. (2008). Information conveyed in hiring announcements of senior executives overseeing enterprise-wide risk management processes. Journal of Accounting, Auditing, and Finance, 23(3), 311-332.

Brennan, N., & Solomon, J. (2008). Corporate governance, accountability and mechanisms of accountability: an overview. Accounting, Auditing & Accountability Journal, 21(7), 885-906.

Cendrowski, H., & Mair, W. C. (2009). Enterprise risk management and COSO: A guide for directors, executives and practitioners. New Jersey: John Wiley & Sons.

Christie, A. A., & Zimmerman, J. L. (1994). Efficient and opportunistic choices of accounting procedures: Corporate control contests. The Accounting Review, 69(4), 539-566.

Epps, R. W., & Cereola, S. J. (2008). Do Institutional Shareholder Services (ISS) Corporate governance ratings reflect a company operating performance. Critical Perspectives on Accounting, 19(8), 1135-1148.

Ghosh, Santana, & Mondal, Amitava. (2009). Indian software and pharmaceutical sector IC and financial performance. Journal of Intellectual Capital, 10(3), 369-388.

Healy, P. M., & Wahlen, J. M., (1999). A review of the earnings management literature and its implications for standard setting. Accounting horizons, 13(4), 365-383.

Kee H., Chung, & Pruitt, Stephen W. (1994). A simple approximation of Tobin’s Q. Financial Management, 23(3), 70-74. doi: 10.2307/3665623

Lawrence A. Gordon, Martin P. Loeb and Chih Yang Tseng. (2009). Enterprise risk management and firm performance: A contingency perspective. J. Account. Public Policy 28, 301 – 327.

Lindenberg, Eric B., & Ross, Stephen A. (1981). Tobin’s Q Ratio and industrial organization. Journal of Business, 54(1), 1-32.

McShane, M., Nair, A., & Rustambekov, E. (2011). Does enterprise risk management increase firm value. Journal of Accounting, Auditing and Finance, 26(4), 641-658.

Mitra, S., & Karathanasopoulos, A. (2019). Firm value and the impact of operational management. Asia-Pacific Financial Markets, 26, 61–85.

O’Keefe, T. B., King, R. D., & Gaver, K. M. (1994). Audit fees, industry specialization, and compliance with GAAS reporting standards. Auditing, 13(2), 41–55.

Pagach, D., & Warr, R. (2010). The effects of enterprise risk management on firm performance. Available from http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.1155218

Smith, C. W., & Stulz, R. M. (1985, December). The determinants of firms’ hedging policies. Journal of Financial and Quantitative Analysis, 20(4), 391-405.

Soileau, J. S. (2010, July). Enterprise risk management: adoption, performance benefits and disclosure effects (Doctoral dissertation) The University of Memphis.

The Committee of Sponsoring of the Treadway Commission (COSO). (2017). Enterprise risk management-integrating with strategy and performance. N.P.: Author.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-25