รูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ
คำสำคัญ:
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว, บุคคลที่มีความต้องการพิเศษบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษในปัจจุบัน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสนับสนุนการจัดการ และ 3) ตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ มี 3 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ กลุ่มผู้มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว จำนวน 6 ครอบครัว 2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสนับสนุนการจัดการ คือ (1) สอบถามความคิดเห็นโดยวิธี การเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาจำนวน 7 คน (2) สอบถามผู้ที๋เกี่ยวข้องด้วยแบบสอบถาม จำนวน 80 คน ได้แก่ ผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัว จำนวน 46 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน ครูการศึกษาพิเศษ จำนวน 24 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และนักจิตวิทยา/นักบำบัด จำนวน 3 คน เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการศึกษา โดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 3) ตรวจสอบรูปแบบการจัดการ ศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษโดยการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว สำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ปัจจุบันมีสาเหตุจากผู้เรียนมีปัญหาทางร่างกายที่ไม่สามารถสนองต่อการเรียนการสอนได้ในโรงเรียน ปกติ ความสามารถทางสติปัญญาที่ไม่เท่าทันกับผู้เรียนปกติ สภาพอารมณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ และผู้เรียนมีปัญหาด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การเตรียมความพร้อมก่อนการจัดการศึกษาขึ้นอยู่กับสภาพความบกพร่องของผู้เรียนทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย และด้านความผิดปกติทางสมองที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ การจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาคือ 1) ผู้จัดการศึกษาขาดความรู้ความสามารถในการออกแบบหลักสูตรและการประเมิน 2) หลักสูตรยังขาดตัวชี้วัดและระเบียบการวัดและการประเมินผลที่เหมาะสมกับการพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษแต่ละด้าน 3) บุคลากรภาครัฐขาดความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเฉพาะด้านความต้องการเนื้อหาสาระในการศึกษาสำหรับ ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ครอบคลุมวิชาการ 8 กลุ่มสาระวิชาโดยเน้นกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์และการส่งเสริมอาชีพ
2. รูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสนับสนุนการจัดการประกอบด้วย 1) การดำเนินการ 2) เครือข่ายสนับสนุน การจัดการศึกษา 3) เงื่อนไขสู่ความสำเร็จได้แก่หน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องมีระบบการดำเนินการชัดเจนและมีประสิทธิภาพ 4) ตัวชี้วัดความสำเร็จ ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการศึกษาของครอบครัว ควรมีลักษณะเป็นแผนการศึกษาเฉพาะตัวผู้เรียนเป็นรายบุคคลในแต่ละช่วงที่ครอบครัวกำหนด (2) แผนการให้บริการการเปลี่ยนผ่านเพื่อรับบริการใหม่การจัดหาที่เรียนใหม่การเข้าสู่การประกอบอาชีพ
3. ตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นรูปแบบที่มีคุณภาพได้ผ่านการประเมินความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิจากการสนทนากลุ่ม
References
กุลวิภา ชีพรับสุข. (2546). รายงานการวิจัย เรื่อง อนาคตภาพการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในทศวรรษหน้า. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพลส.
ชัยณรงค์ ฉิมชูใจ. (2545). รายงานการประชุมวิชาการ การจัดการศึกษาโดยครอบครัวกับการรับจดทะเบียนของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ชวนพิศ ชุมคง. (2546). ครูคณะแรกกับการจัดการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ทิพา น้อยพราย. (2546). การศึกษาวิธีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
นารี คูหาเรืองรอง. (2545). รายงานการประชุมวิชาการ การจัดการศึกษาโดยครอบครัวกับการรับจดทะเบียนของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ผกาวรรณ นันทวิชิต. (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษาโดยครอบครัว (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยุทธชัย เฉลิมชัย และอุทัยวรรณ เฉลิมชัย. (2543). รูปแบบและพัฒนาการการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สถาบันบ้านเรียนไทย. (2548). ก้าวแรกสู่บ้านเรียน. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
สมจิตร์ ยิ่งยงดำรงฤทธิ์. (2551). การจัดกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัวตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2545). การประเมินตามสภาพจริง: อีกทางเลือกหนึ่งของการประเมินผล. กรุงเทพฯ: ข่าวสารกองบริการการศึกษา.
สุภาวดี เจริญเศรษฐมห. (2545). โฮมสคูล: ทางเลือกใหม่ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). แนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาทางเลือกที่จัดโดยครอบครัวและ สถานประกอบการ. กรุงเทพฯ: ครุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544 ). รายงานการศึกษาเบื้องต้นการพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). สภาพการณ์และฐานข้อมูลการจัดการศึกษาโดย
ครอบครัวในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
_________________________________. (2549). คู่มือครอบครัวก้าวแรกสู่บ้านเรียน: หลักคิดและกระบวนการเข้าสู่การศึกษาโดยครอบครัว (Home School). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
_________________________________. (2551). การติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาโดยครอบครัว. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). คู่มือการดำเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
อภิญญา เวชยชัย. (2544). การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองในการพัฒนาการศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2543). การจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School) ประสบการณ์ของนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Epstein, J. (1995). School Family Community Partnerships: Caring for the Children we share. Brown University Phi Delta Kappan 76, no9, Bloomington,Indiana
Hanson, E.M. (1996). Educational Administration and Organizational Behavior. Allyn & Bacon. London And Toronto.
Hanson, E.M. (2003). Education Administration and Organizational Behavior (5th ed.). Allyn & Bacon/Longman Publishing, a Pearson Education Company, Needham Heights
Vender, J.C. (2004). Geography in Homeschool America: Status and Opportunities. Denver, Colorado, Penn State University.
Wheatley, M. J. (1999). Leadership and the New Science: Discovering Order in a Chaotic World (2nd ed.). San Francisco: Berset Koehlu.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น