รัฐบาลไทยควรใช้มาตรการใดเพื่อต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่ขาดคุณธรรม

ผู้แต่ง

  • จิรศักดิ์ รอดจันทร์

คำสำคัญ:

การหลบหลีกภาษีที่ยอมรับไม่ได้หรือที่ขาดคุณธรรม, การวางแผนภาษี, ความเสมอภาคในการกระจายรายได้, ความมีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจในการจัดเก็บภาษี, มาตรการ ต่อต้านการหลบหลีกภาษี, ารตีความกฎหมายตามเจตนารมณ์, กฎเกณฑ์ต่อต้านการ หลบหลีกภาษีที่กำหนดไว้ในลักษณะทั่วไป, กฎเกณฑ์ต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ, กรมสรรพากร, กระบวนการขอรับความชัดเจน

บทคัดย่อ

การหลบหลีกภาษีที่ยอมรับไม่ได้หรือที่ขาดคุณธรรม คือ การกระทำที่ถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย เพื่อลดภาระภาษีหรือการปลดเปลื้องภาระภาษี แต่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของกฎหมายภาษีอันก่อให้เกิดความสูญเสียด้านรายได้จากการจัดเก็บภาษี ส่งผลกระทบต่อความเสมอภาคในการกระจายรายได้ และความมีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจในการจัดเก็บภาษี ดังนั้น มาตรการต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่ยอมรับไม่ได้จึงเป็นสิ่งจำเป็น วิธีการตีความกฎหมายภาษีอย่างเคร่งครัดสนับสนุนความแน่นอนชัดเจนของกฎหมายภาษี แต่นำไปสู่การหลบหลีกภาษีที่ยอมรับไม่ได้ ในขณะที่วิธีการตีความกฎหมายภาษีตามเจตนารมณ์ช่วยให้ศาลสามารถต่อต้านแผนการหลบหลีกภาษีที่ยอมรับไม่ได้ นำมาซึ่งความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี แต่ลดคุณค่าของความแน่นอนชัดเจน ของกฎหมายภาษี ดังนั้นกฎเกณฑ์ที่บัญญัติขึ้นโดยผู้ที่มีอำนาจในการออกกฎหมายจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่ยอมรับไม่ได้

บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวและพบว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ : กฎเกณฑ์ต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่กำหนดไว้โดยเฉพาะและกฎเกณฑ์ต่อต้าน การหลบหลีกภาษีที่กำหนดไว้ในลักษณะทั่วไป ประเทศอังกฤษได้รับเอากฎเกณฑ์ต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่กำหนดไว้โดยเฉพาะมาใช้ กฎเกณฑ์ดังกล่าวจะกำหนดประเภทของแผนการหรือการกระทำที่ ถือว่าเป็นการหลบหลีกภาษีที่ยอมรับไม่ได้ไว้โดยเฉพาะ รวมทั้งกำหนดผลทางภาษีของแผนการหรือ การกระทำการเช่นว่านั้นไว้ด้วย กฎเกณฑ์ต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่กำหนดไว้โดยเฉพาะจึงเหลือ ช่องโหว่ให้มีการหลบหลีกภาษีได้อีก จึงได้มีการเสนอให้นำเอากฎเกณฑ์ต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่ กำหนดไว้ในลักษณะทั่วไปมาใช้ในประเทศอังกฤษ กฎเกณฑ์ดังกล่าวจะกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะนำไป ใช้ต่อต้านแผนการหรือการกระทำเพื่อการหลบหลีกภาษีไว้อย่างกว้าง ๆ โดยไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ ไว้สำหรับกรณีใดกรณีหนึ่งเป็นการเฉพาะ

บทความนี้เสนอแนะว่า ในส่วนของศาลไทย ศาลควรพิจารณานำการตีความกฎหมาย ตามเจตนารมณ์มาใช้ต่อต้านแผนการหลบหลีกภาษีที่ยอมรับไม่ได้ (โดยศาลต้องพิจารณาเกินไป กว่าถ้อยคำของบัญญัติแห่งกฎหมายภาษีเพื่อค้นหาความมุ่งหมายที่อยู่เบื้องหลังถ้อยคำนั้นๆ และ พิจารณาเกินไปกว่ารูปแบบของธุรกรรมของผู้เสียภาษีเพื่อค้นหาสาระสำคัญทางเศรษฐกิจที่อยู่ เบื้องหลังธุรกรรมนั้น) ประกอบกับการนำหลักการในคดี Ramsay มาปรับใช้ หากศาลพิจารณา แล้วเห็นว่าธุรกรรม/แผนการของผู้เสียภาษีถูกออกแบบมาเพื่อการหลบหลีกภาษีในวิถีทางที่ ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในส่วนของรัฐบาลไทย กระทรวงการคลังและกรมสรรพากร ควรนำกฎเกณฑ์ต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่กำหนดไว้ในลักษณะทั่วไปมาใช้สนับสนุนกฎเกณฑ์ ต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่กำหนดไว้โดยเฉพาะที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยออกเป็นกฎหมายภาษี ลำดับรอง ทั้งนี้ กฎหมายภาษีลำดับรองดังกล่าวควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ : (ก) กำหนดความแตกต่างระหว่างธุรกรรม/แผนการเพื่อการหลบหลีกภาษีที่ยอมรับได้กับธุรกรรม/แผนการเพื่อ การหลบหลีกภาษีที่ยอมรับไม่ได้ (ข) กฎเกณฑ์ต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่กำหนดไว้ในลักษณะทั่วไป นำไปใช้กับธุรกรรม/แผนการซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อการหลบหลีกภาษีในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับ เจตนารมณ์ในการบัญญัติกฎหมาย (ค) กำหนดให้มีข้อยกเว้นให้แก่การวางแผนภาษีที่ยอมรับได้ (ง) กำหนดให้มีกระบวนการขอรับความชัดเจนจากกรมสรรพากรได้ภายในระยะเวลาอันสมควรหรือ กำหนดให้มีระบบการตอบข้อหารือให้แก่ผู้เสียภาษี ก่อนการเริ่มทำธุรกรรมภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยกรมสรรพากรต้องไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้เสียภาษีที่ขอรับความชัดเจนหรือขอหารือจากกรมสรรพากร และผู้เสียภาษีมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อไปยังศาล หากคำขอของพวกเขาถูกปฏิเสธจากกรมสรรพากร และ (จ) กำหนดให้เฉพาะสำนักงานใหญ่ของกรมสรรพากร เท่านั้นที่มีสิทธิใช้กฎเกณฑ์ต่อต้านการหลบหลีกภาษีที่กำหนดไว้ในลักษณะทั่วไป

References

จิรศักดิ์ รอดจันทร์. (2555). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: หลักการและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Arnold, Brian J. (1997). The Canadian General Anti-Avoidance Rule. Tax Avoidance and the Rule of Law. Graeme S. Cooper, ed. Amsterdam: IBFD Publications BV.

Brooks, M., & Head, J. (1997). Chapter 2: Tax Avoidance: In Economics, Law and Public Choice. Tax Avoidance and The Rule of Law. Graeme S. Cooper, ed. Amsterdam: IBFD Publications BV.

Chamberlain, E. et al. (2005). Revenue Law – Principles and Practice (23rd ed). West Sussex: Tottel Publishing.

Collision, D., & Tiley, J. (2004). Simon’s Tiley and Collision UK Tax Guide 2004-05 (22nded). London: LexisNexis UK.

Cooper, G. (1997). Conflicts, Challenges and Choices – The Rule of Law and Anti-Avoidance Rules. Tax Avoidance and the Rule of Law. Grames S. Cooper, ed. Amsterdam: IBFD Publications BV.

Freedman, J. (2004). Defining Taxpayer Responsibility: In Support of a General Anti-Avoidance Principle. British Tax Review 2004. London: Sweet & Maxwell.

James, S. (2012). A Dictionary of Taxation (2nd ed).Glos: Edward Elgar Publishing Limited.

James, S., & Nobes, C. (2000). The Economics of Taxation (7th ed). Essex: Pearson Education.

Jones, J.A. (1996). Tax Law: Rules or Principles?. Fiscal Studies. 17 (3), 79.

Kessler, J. (2004). Tax Avoidance Purpose and Section 741 of the Taxes Act 1988. British Tax Review 2004. London: Sweet & Maxwell.

Morse, G., & Williams, D. (2004). Davies: Principles of Tax Law (5thed). London: Sweet & Maxwell.

Orow, N. (2004). Structured Finance and the Operation of General Anti-Avoidance

Rules. British Tax Review 2004. London: Sweet & Maxwell.

Salter, D. (2002). Some Thoughts on Fraudulent Evasion of Income Tax.

British Tax Review 2002. London: Sweet & Maxwell.

Tax Law Review Committee. (1997). Tax Avoidance. London: The Institute for Fiscal Studies.

Tax Law Review Committee. (1999). A General Anti-Avoidance Rule For Direct Taxes: AResponse to the Inland Revenue’s Consultative Document. London: IFS.

Thuronyi, V. (2003). Comparative Tax Law. The Hague: Kluwer Law International.

Tiley, J. (2005). Revenue Law (5thed). Oxford: Hart Publishing.

Tookey, M. (2003). Revenue Law (4thed). London: Old Bailey Press.

Troup, E. (1992). Unacceptable Discretion: Countering Tax Avoidance and Preserving the Rights of the Individual. Fiscal Studies. 13(4), 138.

Vanistendael, F. (1997). Judicial Interpretation and the Role of Anti-Abuse Provisions in Tax Law. Tax Avoidance and the Rule of Law. Graeme S. Cooper, ed. Amsterdam: IBFD Publications BV.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03