ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักศึกษาชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Shan Gao คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • มณฑกานติ ชุบชูวงศ์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณพิตย์

คำสำคัญ:

นักศึกษาชาวจีน, พฤติกรรมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงการศึกษา, กรุงเทพฯ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักศึกษาชาวจีน 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักศึกษาชาวจีน 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพท่องเที่ยวเชิงการศึกษาของนักศึกษาชาวจีน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 310 ชุดและใช้สถิติหาการแจกแจงความถี่ของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงแบบมาตรฐาน (Standard Deviation : SD) สถิติไค-สแควร์ (Chi-Square) และ Standardized residual จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่านักศึกษาชาวจีนเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยในช่วงเวลาวันหยุดและปิดภาคการศึกษา โดยเลือกการเดินทางท่องเที่ยวปีละหนึ่งถึงสองครั้ง การเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้งใช้เวลาวางแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้าหนึ่งเดือน นักศึกษารับข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวผ่านเว็ปไซต์ ส่วนใหญ่เดินทางกับเพื่อนร่วมชั้น แต่ละครั้งพวกเขาเดินทางท่องเที่ยวครั้งละ 2-7 วัน และมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 6,001 บาท และเลือกที่พักประเภทโรงแรม พวกเขามีเพื่อนหรือญาติที่มาเยี่ยมในวันหยุดและปิดภาคการศึกษา เมื่อสิ้นสุดการเดินทางนักศึกษาจะแนะนำสถานที่ให้คนอื่นทราบ นักศึกษาชาวจีนให้ความสนใจมากด้านความปลอดภัยของที่พักและแหล่งท่องเที่ยว ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าอายุมีความสัมพันธ์กับการเลือกแหล่งท่องเที่ยวและการเลือกที่พัก ค่าครองชีพมีความสัมพันธ์กับการเลือกของที่ระลึก ระยะเวลาการศึกษามีความสัมพันธ์กับการเลือกกิจกรรมการท่องเที่ยว เพื่อนกับญาติที่มาเยี่ยมมีความสัมพันธ์กับการเลือกแหล่งท่องเที่ยว

References

กระทรวงศึกษาธิการของประเทศจีน. (2019). ภาพรวมของการศึกษาจีน 1-การพัฒนาการศึกษาของชาติในปี 2018. สืบค้น 21 สิงหาคม 2563, จาก http://www.moe.gov.cn/jyb_sjzl/s5990/201909/t20190929_401639.html

กลุ่มงานส่งเสริมธุรกิจบริการ 2. (2557). ธุรกิจบริการการศึกษานานชาติ. สืบค้น 21 สิงหาคม 2563, จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/83469/83469.pdf

ทุนจีนรุกมหาลัยไทยเปิดทางหนีสอบกดดันเคลื่อนทัพ เรียนนอก 6 แสนคนต่อปี. (2562). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้น 27 เมษายน 2563, จาก https://www.thairath.co.th/scoop/1712528

ไทยแชมป์จุดหมายปลายทางยอดฮิตของนักศึกษาต่างชาติ. (2562). โพสต์ทูเดย์. สืบค้น 21 สิงหาคม 2563, จาก https://www.posttoday.com/world/595063

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2016). ชิง 4 หมื่นล้าน แย่ง น.ศ.ต่างชาติ ม.เอกชนแข่งเดือดลุยเจาะจีน-อาเซียน. สืบค้น 27 เมษายน 2563, จาก http://dpuic.dpu.ac.th/ชิง-4-หมื่นล้าน-แย่งน-ศ-ต่า/

วรรษมน จันทดิษฐ์. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ศึกษากรณีตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อัจฉรา สมบัตินันทนา. (2555). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Australia-Educating Globally. (2013). A great place to study international student strategy. International Student Strategy, 17, 9-11. Retrieved from https://www.melbourne.vic.gov.au/SiteCollectionDocuments/internat-student-strategy-2013-17.pdf

Chronicle, C. (2018, Mar 21). Educational tourism, A new opportunity for the industry. Curacao Chronicle. Retrieved from https://curacaochronicle.com/tourism/educational-tourism-a-new-opportunity-for-the-industry/

Francisco, J., Garcia, R., & Javier, M. (2015). The role of tourist destination in international students’ choice of academic center: The case of Erasmus programme in the Canary Islands. Revista de Turismo y Patrimonio Cultural, 13(1), 175-189.

Huang, R. (2006). A study of gender differences-the travel behavior of Chinese international students studying in the UK. Tourism, 54(1), 63-69.

Liu, G., & Ryan, C. (2015). The role of Chinese students as tourists and hosts for overseas travel. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 16(4), 445-464.

Lin, M. (2018). Travel motivations and behaviours of mainland Chinese students in New Zealand. New Zealand: Auckland University of Technology Ethics Committee.

Qiu, J. (2014). Mainland Chinese International University Students’ travel motivations, travel information sources, and general travel patterns within Canada: A case study at the University of Waterloo. Ontario: University of Waterloo.

Smith, A. (2013). The role of educational tourism in raising academic standards. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure, 2(3), 1-7.

Sun, J. (2010). Research on the development of educational tourism products in Kunming. Yunnan: Yunnan University.

UNESCO. (2009). 2009 World conference on higher education: The new dynamics of higher education and research for societal change and development. Retrieved from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000183277

XinHua. (2019). Thailand received a total of 5.65 million mainland Chinese tourists in the first half of this year. XinHua News. Retrieved from http://www.xinhuanet.com/world/2019-07/24/c_1210212646

Zhu, M. (2016). Chinese international students’ travel information search behavior in Australia. Lismore, New South Wales: Southern Cross University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21