อิทธิพลของปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ศจีรัตน์ เมธีสุวภาพ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชาคริต สกุลอิสริยาภรณ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สมถวิล วิจิตรวรรณา สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, สำนักงานบัญชีไทย, ความได้เปรียบในการแข่งขัน, ผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วยปัจจัย 5 ตัวแปร คือ (1) การจัดการทรัพยากร มนุษย์ (2) การจัดการความรู้ (3) ความรับผิดชอบต่อสังคม (4) นวัตกรรม และ (5) ความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านจัดการทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยการจัดการความรู้ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม นวัตกรรม ความได้เปรียบในการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีไทย 2) เพื่อการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความรู้ ความรับผิดชอบต่อสังคม นวัตกรรม และ ความได้ เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีไทย 3) เพื่อเปรียบเทียบความได้เปรียบในการแข่งขันของสำนักงานบัญชีไทยในประเด็นเกี่ยวกับความตั้งใจเข้าร่วมทางธุรกิจกับประเทศในกลุ่ม AEC และวิเคราะห์ความได้เปรียบในการแข่งขันของสำนักบัญชีไทยตามขนาดของกิจการ ตัวแปรที่ศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วยตัวแปรอิสระ คือ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความรู้นวัตกรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับตัวแปรตามคือ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของสถานประกอบการของสำนักงานบัญชีไทย ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการวิจัยเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าของกิจการและผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานบัญชีไทย จำนวน 290 สำนักงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์อิทธิพล

References

กระทรวงพาณิชย์, กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, สำนักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2556). AEC fact book. นนทบุรี: ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.

กระทรวงพาณิชย์, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2558). รายงานข้อมูลผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. นนทบุรี: สำนักงานกองกำกับบัญชีธุรกิจ.

ณัฐชา วัฒนวิไล, และจุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2555). การพัฒนาศักยภาพวิชาชีพบัญชีไทยเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ. วารสาร Executive Journal. สืบค้น 21 มิถุนายน 2558, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_12/pdf/aw03.pdf

นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จามจุรี-โปรดักท์.

นภาพร ขันธนภา. (2555). จริยธรรมทางธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นุชจรี พิเชฐกุล. (2555). การรายงานและการวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์-ทีพีเอ็นเพรส.

บุญยัง สหเทวสุคนธ์. (2552). การปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สืบค้น 21 มิถุนายน 2558, จาก http://research.krirk.ac.th/pdf/Boonyang%20Sahatevasukont.pdf

พยัต วุฒิรงค์. (2557). กรอบแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์การ: การบูรณาการแนวคิดทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 54(1), 21-48.

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.). (2549). “การจัดการความรู้” ทางลัดประเทศไทยไม่ตกยุค ก้าวสู่การแก้ไขปัญหาและสร้างการพัฒนาที่ดีกว่า. Engineering Today, 4(37), 56-60.

อัจฉรา จันทร์ฉาย. (2555). สู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ: คู่มือการวางแผนกลยุทธ์และจัดทำ BSC. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barney, J. B. (1991a). The resource-based view of strategy: Origins, implications, and prospects. Journal of Management, 17, 97-221.

Barney, J. B. (1991b). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management, 17(1), 99-120.

Barney, J. B., Ketchen, D. J., Jr., & Wright, M. (2011). The future of resource-based theory: Revitalization or decline?. Journal of Management, 37(5), 1299-1315.

Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Carroll, A. B. (1991). The pyramid of corporate social responsibility: Toward the moral management of organizational stakeholders. Business Horizons, 34(4), 39-48.

Chan, K. W., & Mauborgne, R. (2004). Blue ocean strategy: How to create uncontested market space and make the competition irrelevant. Boston: Harvard Business School Press.

Davenport, T. H., & Prusak, L. (1998). Working knowledge: How organizations manage what they know. Boston: Harvard Business School Press.

Drucker, F. P. (1995). The practice of management. Oxford, England: Butterworth-Heineman.

Neely, A. D. (2007). Business performance measurement. Cambridge, England: Cambridge University Press.

Porter, M. E. (1985). Competitive advantage creating and sustained superior

performance. New York: The Free Press.

Porter, M. E. (1998). The competitive advantage of nation. New York: The Free Press.

Talaja, A. (2012). Testing VRIN framework: Resource value and rareness as sources of competitive advantage and above average performance. Management, 17(2), 51-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08