วัฒนธรรมกระแสนิยมเกาหลีกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและความงามของผู้บริโภคเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศศิประภา พันธนาเสวี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมกระแสนิยมเกาหลี, มหาชนนิยม, การตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและความงาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมกระแสนิยมเกาหลีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและความงามของผู้บริโภคเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้บริโภคเพศหญิงที่มีต่อวัฒนธรรมกระแสนิยมเกาหลี ทั้งทางด้านมหาชนนิยม ด้านวัฒนธรรมที่ตรงข้ามกับวัฒนธรรมชั้นสูงและด้านวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากสื่อมวลชน และ 3) ศึกษาถึงการตัดสินซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและความงามที่มุ่งเน้นวัฒนธรรมกระแสนิยมเกาหลีของผู้บริโภคเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริโภคเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุเฉลี่ย 24 ปี มีสถานะโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 10,001 – 20,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมกระแสนิยมเกาหลีในภาพรวม ตลอดจนวัฒนธรรมกระแสนิยมทางด้านมหาชนนิยมและทางด้านวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากสื่อมวลชนส่งผลทางบวกต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและความงามของผู้บริโภคเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2557). สรุปสถิติประชากรศาสตร์ปี 2557. สืบค้น 7 มิถุนายน 2558, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php
จิราภา โฆษิตวานิช. (2554). พฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จุฑารัตน์ ทินบัว. (2556). ความสำคัญและการรับรู้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชญาณ ลำเภา. (2556). การศึกษาทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมการบริโภคตามกระแสเกาหลีนิยม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชัชาภา อ้อพงษ์. (2555). อิทธิพลของภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีในหมู่ผู้ใช้เว็บไซต์ป็อคอร์นฟอร์ทูดอทคอม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2558). 10 อันดับธุรกิจเด่น ในปี 2558. สืบค้น 15 กันยายน 2558, จาก http://cebf.utcc.ac.th/upload/analysis_file
สุดาริน เอื้อโชติพณิช. (2008). การศึกษาปัจจัยในการซื้อการตัดสินใจของลูกค้าต่อการบริโภคอาหารผลิตภัณฑ์อาหารเสริม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Engel, J.F., Blackwell, R.D., & Miniard, P.W. (1990). Consumer behavior. Illinois, IL: Dryden.
Euromonitor International. (2015). Market Research on Vitamins and Dietary Supplements. Retrieved August 25, 2015, from http://www.euromonitor.com/vitamins-and-dietary-supplements
Moungkhem, C. and Surakiatpinyo, J. (2010). A Study of Factors Affecting on Men’s Skin Care Products Purchasing, Particularly in Karlatad, (Doctoral dissertation). Sweden: Karlstad University.
Mukerji, C. and Schudson, M. (1991). Rethinking Popular Culture Contempory Perspectives in Cultural Studies. California, CA: University of California Press.
Nisbet, H.B. (1970). Herder and the Philosophy and History of Science. Cambridge, MA: Modern Humanities Research Association.
Raymon, W. (2001). Culture is Ordinary. Oxford, UK: Blackwell.
Storey, J. (2001). Value through Information and Consultation. UK: Palgrave Macmillan.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York, NY: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08