คำศัพท์พื้นฐาน 1,000 คำ ที่ใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยพื้นฐานสำหรับนักศึกษาชาวจีนของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง

ผู้แต่ง

  • เกียรติชัย เดชพิทักษ์ศิริกุล ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

รายการคำศัพท์, พจนานุกรม, การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมคำศัพท์ที่ปรากฏใช้จริงในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย พื้นฐานของนักศึกษาชาวจีนของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แล้วสังเคราะห์อย่างเป็นระบบให้เป็น รายการคำศัพท์พื้นฐาน 1,000 คำ สำหรับนักศึกษาชาวจีนของมหาวิทยาลัยการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยพื้นฐานสำหรับนักศึกษาชาวจีน และเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาเป็นสื่อการเรียนการสอนต่างๆ เช่น พจนานุกรม อภิธานศัพท์ ข้อสอบวัดสมรรถนะ ภาษาไทย ตลอดจนการทำงานวิจัยในชั้นเรียนต่อไป

ผลการวิจัยพบว่าคำศัพท์ที่ควรอยู่ในรายการคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติมีทั้งสิ้น 1,033 คำ คำศัพท์ทั้งหมดนี้สามารถจำแนกได้เป็น 5 กลุ่มตามค่าความถี่ในการปรากฏของคำ คือ กลุ่มคำศัพท์ที่ปรากฏมากที่สุดมีจำนวนคำทั้งสิ้น 9 คำ กลุ่มคำศัพท์ที่ปรากฏมาก มีจำนวนทั้งสิ้น 33 คำ กลุ่มคำศัพท์ที่ปรากฏปานกลาง มีจำนวนทั้งสิ้น 35 คำ กลุ่มคำศัพท์ที่ปรากฏน้อย มีจำนวนทั้งสิ้น 112 คำส่วนกลุ่มคำศัพท์ที่ปรากฏน้อยที่สุดมีจำนวนทั้งสิ้น 844 คำ

เมื่อนำไปวิเคราะห์ตามชนิดของคำพบว่าคำนามเป็นคำที่ปรากฏมากที่สุด จำนวน 499 คำ คิดเป็นร้อยละ 48.3 ของจำนวนคำทั้งหมด รองลงมาคือคำกริยาปรากฏทั้งสิ้น 348 คำ คิดเป็นร้อยละ 33.69 ส่วนคำที่ปรากฏน้อยที่สุดคือ คำเชื่อมอนุพากย์ มีทั้งสิ้น 3 คำ คิดเป็นร้อยละ 0.29 นอกจากนี้เมื่อนำไปวิเคราะห์ตามบริบทการใช้ภาษาพบว่าคำที่ปรากฏมากที่สุดคือ คำที่ใช้ในการเรียนการสอน มีจำนวน 361 คำ คิดเป็นร้อยละ 34.95 รองลงมาคือคำที่อยู่เฉพาะในบทเรียน มีจำนวน 354 คำ คิดเป็นร้อยละ 34.27 และคำที่ปรากฏทั้งในบทเรียนและการเรียนการสอน มีจำนวน 318 คำ คิดเป็นร้อยละ 30.78

References

น้ำทิพย์ ภิงคารวัฒน์. (2551). การเปลี่ยนแปลงของภาษาอังกฤษผ่านกาลเวลา(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประพิณ มโนมัยวิบูลย์.(2545). ไวยากรณ์จีนกลาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (2552) บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคำวลี ประโยคและสัมพันธสาร. กรุงเทพฯ:สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถาบันภาษาไทยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2553). ชนิดของคำในภาษาไทย: การวิเคราะห์ทางวากยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kirkness, A. (2011). Lexicography. In Long H. M. and Doughty J. C. Eds, The handbook of language teaching (pp.54-80). West Susses, UK: Wiley - Blackwell.

Long, M. H. (2011). Methodological principles for language teaching. In Long H. M. and Doughty J. C. Eds, The handbook of language teaching (pp. 54-80). West Susses, UK: Wiley - Blackwell.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08