ปัญหาการบังคับใช้ INCOTERMS ในศาลไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีการโอนความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าตามสัญญา ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • ปรียานันท์ รักษกุลวิทยา

คำสำคัญ:

INCOTERMS, การโอนความเสี่ยงภัยในตัวสินค้า, การบังคับใช้ในศาลไทย

บทคัดย่อ

ในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศนั้น หากเกิดภัยพิบัติต่อสินค้าที่ซื้อขายในระหว่างขนส่งอันไม่อาจโทษใครได้ ปัญหาว่าคู่สัญญาฝ่ายใดควรรับบาปเคราะห์จากผลแห่งภัยพิบัตินั้นเป็น เรื่องที่ยังไม่มีความเห็นลงรอยกัน เพราะขณะที่สินค้าถูกทำลายจนสูญหายหรือเสียหายนั้น สินค้าอยู่ในระหว่างที่ขนส่ง สินค้าที่ซื้อขายมักไม่ได้อยู่ในการครอบครองและระวังรักษาของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนั้นการหาเหตุผลทางกฎหมายที่จะสร้างความเป็นธรรมและสอดคล้องกับสภาพการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนหลักการ โอนความเสี่ยงภัยในกฎหมายของแต่ละประเทศที่บังคับต่อกรณีจึงยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ข้อกำหนดทางการค้า เช่น INCOTERMS เข้ามามีบทบาทในการกำหนดจุดเวลาการโอน ความเสี่ยงภัยในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ บังคับต่อการซื้อขายสินค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ นอกเหนือจากการเลือกใช้กฎหมายสารบัญญัติของประเทศใดประเทศหนึ่งมาบังคับ ต่อสารัตถะของสัญญาที่เกี่ยวข้อง

เมื่อพิจารณาจากมุมมองของประเทศไทยแล้ว แม้ว่าประเทศไทยจะมีการซื้อขายกับต่างประเทศ อันมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ทั้งมีปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ จะใช้บังคับกับแก่ข้อพาททางด้านกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะบทบัญญัติที่จะรองรับสถานะ ของ INCOTERMS ซึ่งเป็นข้อกำหนดทางการค้าที่สำคัญ และเป็นที่ยอมรับในทางสากล

ปัจจุบันประเทศไทยยังการที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่เข้ามารองรับสถานะของ INCOTEMS เพื่อใช้บังคับแก่ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับ INCOTERMS ในเรื่องการโอนความเสี่ยงภัยใน ตัวสินค้าภายใต้สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งประเทศไทยยังมิได้เป็นภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods หรือ CISG) ทำให้ในทางปฏิบัติศาล ไทยต้องปรับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายภายในกับข้อพิพาทเกี่ยวกับ INCOTERMS ในเรื่องการโอนความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าภายใต้สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ทำให้ในทางปฏิบัติศาลไทยต้องปรับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายภายในกับ ข้อพิพาทเกี่ยวกับ INCOTERMS ในเรื่องการโอนความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าภายใต้สัญญาซื้อขาย สินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาจากการปรับใช้ได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์นั้นได้รับการบัญญัติให้ใช้กับนิติกรรมภายในประเทศเป็นหลัก จึงอาจเกิดความขัดแย้งและไม่สอดคล้องกับประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศได้ โดยเฉพาะในเรื่องการโอนความเสี่ยงภัยในตัวสินค้า

เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเสนอว่าควรแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการตรา พระราชบัญญัติออกมาเป็นกฎหมายพิเศษที่มีเนื้อหาตรงตามอนุสัญญา CISG เพื่อเป็นการแก้ปัญหา การรองรับสถานะของ INCOTERMS ให้มีผลบังคับใช้ในทางกฎหมายได้

References

กำชัย จงจักรพันธ์. (2549). ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ : ข้อพิจารณาในหลักการและบทบัญญัติของกฎหมาย : รวมบทความงานวิชาการ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กำชัย จงจักรพันธ์. (2553). กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). โครงการตำราและเอกสารประกอบการ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชวลิต อัตถศาสตร์. (2543). กฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายระหว่างประเทศ : คู่มือการศึกษาวิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

สมยศ เชื้อไทย. (2556). คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่งหลักทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่19). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สุทธิพล ทวีชัยการ. (2549). ประเทศไทยกับความจำเป็นในการเร่งพัฒนากฎหมายซื้อขายระหว่างประเทศ.เอกสารคณะอนุกรรมการดำเนินการจัดทำข้อเสนอการแยกคดีพาณิชย์ออกจากคดีแพ่ง หมายเลข1/2549.

สุนัย มโนมัยอุดม. (2540). INCOTERMS:วารสารดุลพาห ฉบับเดือนเมษายน-มิถุนายน 2540. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

สุนัย มโนมัยอุดม. (2557). เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ: INCOTERMS 2010 สืบค้น 30 มกราคม 2557, จาก http://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/index.php?id=43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08