การศึกษาการขยายผลทางเศรษฐกิจของชุมชนบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • สุเทพ พันประสิทธิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจพอเพียง, ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง, การขยายผล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ (1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของชุมชน (2) เพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตของชุมชนอันได้แก่ ปัจจัยการผลิตและผลผลิตของระบบการผลิตทางด้านการเกษตรวิสาหกิจชุมชนและทุนชุมชน (3) เพื่อศึกษาสภาพทางสังคมความสัมพันธ์ของเกษตรกรกับชุมชน แนวคิดการดำเนินงานและแนวทางขยายผลเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการวิจัยเรื่องนี้มี ดังนี้ (1) การสำรวจตัวอย่างเป็นฟาร์มเกษตรกรและสมาชิกศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต้นแบบบ้านคลองหัวช้าง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรีจำนวน 100 ตัวอย่าง (2) วิเคราะห์แนวคิดและการดำเนินการผลิตทางการเกษตรตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง (3) การประเมินการขยายผลของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี่และด้านจิตใจ โดยใช้แบบสอบถามความเห็นแบบ Likert Scale และอธิบายผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านระบบการทำฟาร์มเป็นการเกษตรแบบไร่นาส่วนผสมโดยเน้นในรูปแบบผลิตข้าว-พืชสวน-ประมง-ปศุสัตว์ และมีสัดส่วนการดำเนินกิจกรรมการเกษตรแตกต่างกันโดยขึ้นกับการใช้พื้นที่ของเกษตรกรแต่ละรายมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับพื้นที่ของตนเอง (2) ความสำเร็จตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงคือ การที่กลุ่มมีความสามัคคีมีผู้นำที่เข้มแข็งส่งผลทำให้เกิดการรวมตัวเกษตรกรเอง มีการร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันด้านอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่อย่างประหยัดและรู้คุณค่า (3) การขยายผลมีการขยายผลด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี ด้านสังคม ด้านทรัพยากรและด้านจิตใจ ทั้งหมดนับเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเข้มแข็งของชุมชน

ข้อเสนอแนะ: (1) สร้างเสริมกิจกรรมการเกษตรของเกษตรกรตัวอย่างให้เป็นการเกษตรแบบไร่นาส่วนผสม มีการดำเนินกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนและมีแหล่งท่องเที่ยวการเกษตร (2) เพิ่มพูน ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือการที่ภาครัฐต้องดำเนินการจัดหาเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้กับเกษตรกรในด้านต่างๆ มีการนำความรู้และเทคโนโลยีจากภายนอกท้องถิ่นมาปรับใช้อยู่เสมอ เกษตรกรจะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันในด้านชีวิตความเป็นอยู่ และงานอาชีพมีการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่า และทำตามกำลังความสามารถที่มีอยู่ (3) จัดกิจกรรมส่งเสริมและฝึกอบรมการปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่ระดับที่ก้าวหน้ามากขึ้นหรือจัดเวทีให้ความรู้ โดยใช้เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จเป็นวิทยากร พร้อมนำชมผลงานอย่างละเอียด

References

กรมพัฒนาชุมชน.(2558). ทุนชุมชน. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2557จาก http://www.fund.cdd.go.th

สุเมธ ตันติเวชกุล และคณะ. (2542). ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สุเทพ พันประสิทธิ์.(2557) การศึกษาการขยายผลทางเศรษฐกิจของชุมชนบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เสรี พงศ์พิศ. (2533). ภูมิปัญญากับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

____________. (2534). วัฒนธรรมกับการพัฒนาชนบท (เอกสารวิชาการ). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554). กรุงเทพฯ: วี.เจ พริ้นติ้ง.

อำพล เสนาณรงค์. (2542). สรุปแนวคิดเกี่ยวกับ เกษตรทฤษฎีใหม่ บทสรุปสำหรับผู้บริหารในแง่มุมเชิงการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อภิชัย พันธเสน. (2539). พัฒนาชนบทไทย: สมุทัย และมรรค การเปลี่ยนแปลงและการบริหารจัดการ. มูลนิธิภูมิปัญญาด้วยความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).

อเนก นาคะบุตร. (2536). ข่าวสารข้อมูลกับความยั่งยืนของการพัฒนา. กรุงเทพ ฯ. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08