ทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ ทับทิมแก้ว หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอาเซียน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ธิฏิรัตน์ ทิพรส สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, การปรับตัว, เกษตรกรผู้ปลูกข้าว, จังหวัดราชบุรี, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทางเลือกในการปรับตัวและทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดราชบุรี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการกำหนดทางเลือกในการปรับตัวของเกษตรกรผ้ปลูกข้าวในจังหวัดราชบุรีในแบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลกับเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวในจังหวัดราชบุรี จากตัวอย่างที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 382 คน ผู้วิจัยกำหนดการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม 2 ชั้น (Two-Stage Cluster Random Sampling) โดยสุ่มอำเภอในจังหวัดราชบุรี จำนวน 4 อำเภอ จากนั้นแต่ละอำเภอที่ตกเป็นตัวอย่างสุ่มพื้นที่โดยการสุ่มพิกัด ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยขนาดตัวอย่างจัดสรรตามสัดส่วนประชากร ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับทัศนคติทั้งเชิงบวกและเชิงลบของเกษตรผู้ปลูกข้าวไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยใช้สถิติ t-test

ผลการวิจัย พบว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเลือกทำนาปลูกข้าวในลักษณะเดิม จำนวน 180 คน และเลือกปลูกพืชชนิดอื่นหรือผสมผสาน จำนวน 202 คน มีระดับทัศนคติของผลกระทบในเชิงบวกต่ออาชีพชาวนาไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 3.32) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับทัศนคติในด้านผลกระทบเชิงลบ มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 3.48) ซึ่งอยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบทัศนคติเชิงบวกเชิงลบปรากฏว่าเกษตรกรที่มีทางเลือกปลูกพืชชนิดอื่นหรือผสมผสาน มีระดับทัศนคติโดยเฉลี่ยทั้งเชิงบวกและเชิงลบ สูงกว่าเกษตรกรที่มีทางเลือกปลูกข้าวในลักษณะเดิมในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) ส่วนปัจจัยด้านลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจังหวัดราชบุรีที่มีผลต่อทางเลือกในการปรับตัว ได้แก่ จำนวนปีที่ศึกษา อำเภอ ความถี่ในการคิดค้นกระบวนการแบบใหม่เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต และสุดท้ายเป็นบทบาทของผู้นำในชุมชนมีผลต่อการตัดสินใจ ซึ่งได้ค่า (p-value < 0.05) ในขณะที่ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมด้านอื่น ไม่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการปรับตัวของเกษตรกร โดยมีค่า (p-value > 0.05)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). คู่มือการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer. กรุงเทพฯ: คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบาย กรมส่งเสริมการเกษตร.

วันเพ็ญ ทับทิมแก้ว. (อยู่ระหว่างการดำเนินการ). การปรับตัวและทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2556). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2557, จาก http://103.28.101.10/briefprovince/filedoc/70000000.pdf

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2554). ข่าวเกษตรรายวัน. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2558, จาก http://www.acfs.go.th/read_news.php?id=12327&ntype=09

สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จ.ราชบุรี. (2557). ข้อมูลขึ้นทะเบียนเกษตรกรรายแปลง. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2557, จาก http://www.wdoae.doae.go.th/wp2013/?page_id=1593

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2557, จาก http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=13577

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จ.ราชบุรี. (2557). ข้อมูลขึ้นทะเบียนเกษตรกรรายแปลง. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2557, จาก http://www.wdoae.doae.go.th/wp2013/?page_id=1593

Blandford, D. & Boisvert, R. N. (2004). U.S. Policy for Agricultural Adjustment. Philadelphia: International Agricultural Trade Research Consortium.

Briones, R. M. & Galang, I. M. R. (2014). Prospects for a Philippines-European Union Free Trade Agreement: Implications for Agriculture. Makati: Philippine Institute for Development Studies.

Levy, S. & Wijnbergen, S. V. (1992). Mexican Agriculture in The Free Trade Agreement: Transition Problems in Economic. Paris: Developing Country Agriculture and International Economic Trends: OECD Development Centre

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08