การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการเรียนรู้เพื่อการแข่งขันทางธุรกิจประจำท้องถิ่นสู่สังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • ดารณี พิมพ์ช่างทอง สาขาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อภิรดา สุทธิสานนท์ สาขาการบัญชีและการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

สังคมแห่งการเรียนรู้, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ และเพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อสังคมแห่งการเรียนรู้

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคคลทั่วไปที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยจำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งโควต้าตามภาค 5 ภาค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Samples t-test, One Way ANOVA, LSD, และ Multiple Linear Regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พร้อมทั้งทำการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดให้สมบูรณ์ขึ้น

ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-35 ปี มีการศึกษาในระดับอนุปริญญา/ปวส. มีภูมิลำเนาอยู่ในทุกภาคคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นจำนวนเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 20.0 ของขนาดตัวอย่าง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการเรียนรู้มีความสำคัญในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้านเรียงตามลำดับความสำคัญคือ คุณลักษณะเฉพาะอัตมโนทัศน์ ทักษะ ความรู้และแรงจูงใจ สังคมแห่งการเรียนรู้มีความสำคัญอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้านเรียงตามลำดับความสำคัญคือ ด้านกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ด้านการบริหารจัดการความรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศมีผลต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ด้านการบริหารจัดการความรู้ และในภาพรวมอายุมีผลต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และด้านการบริหารจัดการความรู้ ระดับการศึกษามีผลต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการความรู้และภาพรวมภูมิลำเนา มีผลต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้ตามอัธยาศัย และภาพรวมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวกับความรู้ อัตมโนทัศน์ คุณลักษณะเฉพาะ และแรงจูงใจ มีอิทธิพลต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ในภาพรวม สามารถทำนายสมการได้ 38.80% และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.627 นอกจากนั้นผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญเกี่ยวกับ การพัฒนาคนและกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้

References

ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. (2551). แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สืบค้น 15 มกราคม 2557, จาก https://sites.google.com/site/ydoakn/kheld-lab/http-www-bangpan-org-content-110211092017

นีออน พิณประดิษฐ์, ชลายุทธ์ ครุฑเมือง และ เกดสินี พลบูรณ์. (2552). รายงานการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติประเภททุนอุดหนุนทั่วไป ประจำปีงบประมาณ 2551.

บุปผาวดี โอวรารินทร์. (2555). สนทนาของรายการหนี้แผ่นดิน เรื่องสุขภาพดีกับพรีม่า. สำนักบริการข้อมูลและสารสนเทศ .

ปิยะนุช รวมทรัพย์. (2551). ทัศนคติและพฤติกรรมการแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้ของพนักงานระดับวิศวกรและหัวหน้างานในสายงานเทคนิคภายในสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน : กรณีศึกษาธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์เครือซิเมนต์ไทย.วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประยูร วิรัตน์เกษม. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดพะเยา ปริญญาโท (รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พัชราภา ดินดำ. (2550). การมีส่วนร่วมของเยาวชนต่อการกำหนดนโยบายการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาอุทยานการเรียนรู้ต้นแบบ. สารนิพนธ์ รป.ม. (นโยบายสาธารณะ) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รังสรรค์ โฉมยา. (2553). จิตวิทยา : พื้นฐานในการทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. สงขลา : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

Calhoun, C. (1973). Dictionary of the Social Science. Oxford University Press.

Drucker, P. (2014). Quotes. Retrieved July 13, 2014, from www.goodreads.com/author/quotes12008.Peter_F_Drucker

Hurtte, F. (2014). Data Free Conversation-No, Powerful Data Sharing-Yes. Retrieved June, 2014, from www.riverhightsconsulting.com

Nadler, L., & Wiggs, G. D. (1989). Managing Human Resource Development: A Practical Guide, San Francisco: Jossey-Bass Inc.

Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competence at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Tuamsuk, K., Phabu, T., & Vongprasert, C. (2013). Knowledge management mode of community business: Thai OTOP Champions. Journal of Knowledge Management, 17(3), 363-378.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08