การระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • จันทิมา อัชชะสวัสดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา, การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา 2) แนวปฏิบัติในการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการ ศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา 3) รูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา 4) คู่มือในการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน ประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 394 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น แบบระดมความคิดเห็นและแบบตรวจสอบและยืนยันความเหมาะสมของคู่มือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

องค์ประกอบการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารทรัพยากร 2) ภาวะผู้นำ 3) การมีส่วนร่วม 4) ความศรัทธา 5) แรงจูงใจ 6) กฎหมาย และ 7) ประชาสัมพันธ์ แนวปฏิบัติในการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา โดยรวมมี 312 แนวปฏิบัติ ประกอบด้วย การบริหาร ทรัพยากร 80 แนวปฏิบัติ ภาวะผู้นำ 72 แนวปฏิบัติ การมีส่วนร่วม 60 แนวปฏิบัติ ความศรัทธา 31 แนวปฏิบัติ แรงจูงใจ 40 แนวปฏิบัติ กฎหมาย 29 แนวปฏิบัติ และการประชาสัมพันธ์ 36 แนวปฏิบัติรูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา แสดงถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 7 องค์ประกอบ และคู่มือการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา มีความเหมาะสม เป็นไปได้ ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สอดคล้องกับกรอบแนวคิดและทฤษฎีของการวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัฒฑ์ (รสพ.).

ชนัญชิดา ไชยรักษ์. (2549). การระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่ประสบธรณีพิบัติ (สึนามิ) (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล, ชัยยุทธ์ ศิริสุทธิ์ และโกวัฒน์ เทศบุตร. (2548). การระดมทุนเพื่อการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. เชียงใหม่ : มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ปรีชา คัมภีรปกรณ์. (2547). การบริหารทรัพยากรการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชรกฤษฎิ์ พวงนิล. (2553). กลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐในจังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา).ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2544). ทรัพยากรการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ศศิธร เชื้อวัฒนากุล. (2550). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านกว้างท่าเยี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สวัสดิ์ ยศบุญเรือง. (2541). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการศึกษาในสังคมไทย : แนวคิดปัญหา อุปสรรค และแนวทางในอนาคต (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). รายงานการติดตามและประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาในวาระครบรอบ 3 ปี ของการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 8 ทรัพยากรและ การลงทุนเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม.

Brittingham, K.V. (1998). The Characterization of Successful School, Family, and Community Partnerships, Master Abstracts International. 59(55) : 1406; November, 1998.

Goin, D. (1992). Teacher and principal involvement in managing site-bases elementary school Improvement. Dissertation Abstracts International, 52(11), 378.

McCarthy, J.D. & Zald, M.N. (1977). Resource Mobilization and Social Movements : A Partial Theory. American Journal of Sociology 82.

Rosso, H.A., (1991). Achieving Excellence in Fund Raising: A Comprehensive Guide to Principles, Strategies, and Methods. San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08