ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจของผู้ปกครอง, การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย, โรงเรียนอนุบาลเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน ตามอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับชั้นเรียนของบุตรหลาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.958 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า (1) ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านร่างกาย และพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ตามลำดับ และ (2) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตาม ระดับชั้นเรียนของบุตรหลาน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่แตกต่างกันตามอายุระดับการศึกษาและอาชีพ
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยมีดังนี้ (1) พัฒนาการด้านร่างกาย โรงเรียนควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเคลื่อนไหวพร้อมเชือกหรือผ้าแพร และควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เล่น เครื่องเล่นสัมผัส (2) พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ โรงเรียนควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะ และควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้แสดงบทบาทสมมติ (3) พัฒนาการด้านสังคมโรงเรียนควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กสามารถแก้ปัญหาในขณะเล่นร่วมกับผู้อื่นได้ และควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมท้องถิ่น และ (4) พัฒนาการด้านสติปัญญา โรงเรียนควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กสามารถเขียนชื่อตนเองได้ และควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านโดยการอ่านนิทานให้เด็กฟังและควรมีการวัดผลประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
References
กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเอกชน กลุ่มที่10. (2554). แผนกลยุทธ์ในการพัฒนาการศึกษาระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2552 - 2556). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเอกชน กลุ่มที่ 10. (2556). จำนวนครูและนักเรียนโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเอกชน กลุ่มที่ 10. (เอกสารอัดสำเนา).
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: เบรน - บุ๊ค.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). บีบเค้นเด็กอนุบาล...เร่งอ่าน เขียน คณิตจะดีจริงหรือ!!!. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2556, จาก www.kriengsak.com/nodel/1284.
นภเนตร ธรรมบวร. (2544). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทิยา น้อยจันทร์. (2548). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. นครปฐม: นิตินัยจำกัด.
นิตยา ศรีมกุฎพันธ์. (2548). การจัดและบริหารสถานศึกษาเด็กปฐมวัย. สุรินทร์.: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
นิรมล เปาะทอง. (2550). ความคาดหวังของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
เบญจา แสงมลิ และ ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต. (2547). การจัดศูนย์และโรงเรียนปฐมวัยศึกษาหน่วยที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เบญจา แสงมลิ. (2550). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ประยุทธ พวงทอง. (2549). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยของโรงเรียนอินทโมลีประทาน อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา), ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
พัชรี ผลโยธิน. (2548). ประมวลสาระชุดวิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
_____________. (2551). ประมวลสาระชุดวิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วย ที่ 11. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัตนา กิจเกื้อกูล. (2550). ความต้องการของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 (ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัฒนา ปุญญฤทธิ์. (2553). การศึกษาปฐมวัย : แนวคิด หลักการสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มิวเซียม บุคส์.
ศุภริณี อำภรณ์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการบริหารที่ส่งผลต่อการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 26(79), 185-197
สมร ทองดี และ สุกัญญา กาญจนกิจ. (2548). ประมวลสาระชุดวิชา หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา PRINCIPLES OF EARLY CHILDHOOD EDUCATION หน่วยที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แลแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.
สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2556). สถิติการศึกษาเอกชน. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2556, จาก http://www.opec.go.th
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551 : 39) ). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุกัญญา ดอกพวง. (2549). การศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนปฐมวัยต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเขตราษฎร์บูรณะ(ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น