อิทธิพลของแรงจูงใจปัจจัยผลักที่มีต่อแรงจูงใจปัจจัยดึงของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เลิศพร ภาระสกุล คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจปัจจัยผลัก, แรงจูงใจปัจจัยดึง, นักท่องเที่ยวชาวจีนประเทศไทย

บทคัดย่อ

นักท่องเที่ยวจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับประเทศไทยในปี 2010 นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวน 1.12 ล้านคน และได้เพิ่มกว่าหนึ่งเท่าตัวในปี 2012 เป็น 2.79 ล้านคน จนกระทั่งปี 2014 นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้ามาถึง 4.63 ล้านคน อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังมีการวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยอยู่น้อยมาก ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้คือการศึกษาแรงจูงใจด้านปัจจัย ผลักและแรงจูงใจด้านปัจจัยดึงดูดที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทย และเพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของแรงจูงใจปัจจัยผลักที่มีต่อแรงจูงใจปัจจัยดึงดูด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวจีนคือแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นเป็นภาษาจีน โดยคัดเลือกแบบสอบถามที่สมบูรณ์ที่สุดมาทำการวิเคราะห์จำนวน 621 ชุด พื้นที่ที่ทำการรวบรวมข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวจีนได้แก่ ย่านศูนย์การค้าในเขตกรุงเทพมหานคร แหล่งท่องเที่ยวในเมืองพัทยา ภูเก็ต และเชียงใหม่ การวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) และการวิเคราะห์ความถดถอย เชิงซ้อน (Multiple Regression) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยแรงจูงใจด้านปัจจัยผลักที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีน เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยมี 5 ปัจจัยเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยได้แก่ 1) แรงจูงใจ ที่จะเติมเต็มความใฝ่ฝัน และความต้องการเกียรติภูมิ 2) แรงจูงใจที่จะได้เรียนรู้และสัมผัสวัฒนธรรมใหม่ 3) แรงจูงใจทางด้านอารมณ์ 4) แรงจูงใจที่จะหลีกหนีจากความจำเจ และความต้องการการพักผ่อนหย่อนใจ 5) แรงจูงใจที่จะกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ในส่วนของแรงจูงใจด้านปัจจัยดึงดูดเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยได้แก่ 1) สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวและความเป็นมิตรของคนไทย 2) ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว 3) ปัจจัยดึงดูด ด้านราคาและความปลอดภัย 4) สถานบันเทิงและสิ่งจูงใจจากภาพยนต์ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของ แรงจูงใจปัจจัยผลักที่มีต่อแรงจูงใจปัจจัยดึงด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression) พบว่า แรงจูงใจปัจจัยผลักด้านความต้องการที่จะเติมเต็มความใฝ่ฝันและความต้องการเกียรติภูมิ แรงจูงใจที่จะกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และแรงจูงใจที่จะได้เรียนรู้และสัมผัสวัฒนธรรมใหม่ เป็น 3 แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยดึงดูดด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยว และความเป็นมิตรของคนไทย ส่วนปัจจัยดึงดูดด้านความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวจะได้รับอิทธิพลของปัจจัยผลัก 2 อย่างได้แก่ แรงจูงใจที่จะได้เรียนรู้และสัมผัสวัฒนธรรมใหม่กับแรงจูงใจที่จะเติมเต็ม ความใฝ่ฝันและความต้องการเกียรติภูมิ ปัจจัยดึงดูดด้านราคาและความปลอดภัยจะดึงดูดแรงจูงใจปัจจัย ผลักทั้ง 5 กลุ่ม ส่วนปัจจัยดึงดูดด้านสถานบันเทิงและสิ่งจูงใจจากภาพยนต์ จะได้รับอิทธิพลจากแรงจูงใจ ปัจจัยผลักด้านอารมณ์และแรงจูงใจที่จะเติมเต็มความใฝ่ฝันและความต้องการเกียรติภูมิ

References

Belsley, D. A., Kuh, E.,& Welsch, R. E. (1980). Regression Diagnostics: Identifying Influential Data and Sources of Collinearity. New York: Wiley.
Cha, S., McCleary, K. & Uysal, M. (1995), ‘Travel Motivation of Japanese Overseas Travellers: A Factor-Cluster Segmentation Approach’, Journal of Travel Research, 34(1), pp. 33-39.
Crompton, J. (1979, December 1). Motivations for Pleasure Vacation. Annals of Tourism Research, 6(4), 408-424.
Dann, G. (1977, April 1). Anomie, Ego-enhancement and Tourism. Annals of Tourism Research, 4(4), 184-194.
Esichaikul, R. (2012). Travel Motivations, Behavior and Requirements of European Senior Tourists to Thailand. Journal of Sukhothai Thammathirat Open University (Thailand), 10(2), 47-58.
Fodness, D. (1994, January 1). Measuring Tourist Motivation. Annals of Tourism Research, 21(3),555-581.
Goeldner, C. R.,& Ritchie, J. R. B. (2006). Tourism: Principles, Practices, Philosophies(10th ed.). Hoboken, N.J.: John Wiley & Sons.
Hair, J. F. (1998). Multivariate Data Analysis (5th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Hinton, P. R., Brownlow, C., McMurray, I. and Cozens, B. (2004), SPSS Explained, New York: Routledge.
Jamrozy, U., & Uysal, M. (1994). Travel Motivation Variations of Overseas German Visitors. Global Tourist Behavior, 6(3-4), 135-160.
Jönsson, C. & Devonish, D. (2008). Does Nationality, Gender, and Age Affect Travel Motivation? A Case of Visitors to the Caribbean Island of Barbados. Journal of Travel & Tourism Marketing, 25(3-4), 398-408.
Kau, A. K. & Lim, P. S. (2005, July 1). Clustering of Chinese Tourists to Singapore: An analysis of Their Motivations, Values and Satisfaction. International Journal of Tourism Research, 7, 231-248.
Lau, M. A. (2006). An Analysis of the Travel Motivation of Tourists from the People’s Republic of China. Hamburg: University of Forschungsstelle Nachhaltige Umweltentwicklung.
Li, M., & Cai, L. (2009). Are They Different: An Analysis of Chinese Travel Motivation. Paper Presented in the International Council of Hotel, Restaurant, and Institutional Education, San Francisco, USA. July 29 – August 1, 2011.
Li, M., Zhang, H., Mao, I., & Deng, C. (2011). Segmenting Chinese Outbound Tourists by Perceived Constraints. Journal of Travel & Tourism Marketing, 28(6), 629-643.
Liu, H.L., Lee, M.J.,Kan, T.C.,and Huan,T.C. (2011). Marketing implications of Chinese tourists’ motivations to visit Penghu, Taiwan. African Journal of Business Management, 5 (13), pp. 5210-5223
Mayo, E. J.,& Jarvis, L. P. (1981). The Psychology of Leisure Travel: Effective Marketing and Selling of Travel Services. Boston, MA: CBI Pub.
Otoo, F. E. (2013). Motivations of American Volunteer Tourists to Ghana. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure, 2(4), 1-12.
Pearce, P. L. (1988). The Ulysses Factor: Evaluating Visitors in Tourist Settings. New York: Springer.
Pearce, P. L. & Caltabiano, M. L. (1983). Inferring Travel Motivation from Travelers’ Experiences. Journal of Travel Research, 22(2), 16-20.
Reisinger, Y. (2009). International Tourism: Cultures and Behavior. Amsterdam: Elsevier/Butterworth-Heinemann.
Siri, R., Kennon, L., Josiam, B. & Spears, D. (2012). Exploring Indian Tourists’ Motivation and Perception of Bangkok. Tourismos: An International Multidisciplinary Journal of Tourism, 7(1), 61-79.
Swarbrooke, J and Horner, S. (1999). Consumer Behaviour in Tourism. Oxford: Butterworth-Heinemann.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08