ชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการบริการอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ณัฐประภา เศรษฐกสิวิทย์
  • วิกร ตัณฑวุฑโฒ
  • ชีพสุมน รังสยาธร

คำสำคัญ:

ชุดการเรียนรู้, สมรรถนะการบริการอาหารและเครื่องดื่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะการบริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน 2) พัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการบริการอาหารและเครื่องดื่มและ 3) ตรวจสอบชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการบริการอาหารและเครื่องดื่ม การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 สำรวจสมรรถนะการบริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์เป็นพนักงานเสิร์ฟเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 จำนวน 300 คน นักวิชาการด้านอาหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2จำนวน 65 คน และผู้ประกอบการด้านอาหารเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร จำนวน 70 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน นักวิชาการด้านอาหาร จำนวน 30 คน และผู้ประกอบการด้านอาหาร จำนวน 40 คน โดยใช้แบบสอบถาม นำผลวิจัยที่ได้เสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน ในการอภิปรายกลุ่ม สนทนาแบบเจาะจง เพื่อให้ได้สมรรถนะที่จำเป็นและเหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อหารายได้ระหว่างเรียน ระยะที่ 2 พัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะ การบริการอาหาร และเครื่องดื่ม และระยะที่ 3 ตรวจสอบชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการบริการอาหารและเครื่องดื่ม กับนักเรียนอาสาสมัครชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ไม่มีประสบการณ์เป็นพนักงานเสิร์ฟ จำนวน 30 คน จาก 4 โรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะการบริการอาหารและเครื่องดื่มที่จำเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในการทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟเพื่อหารายได้ระหว่างเรียนมี 7 สมรรถนะ ได้แก่ 1) กิริยามารยาท 2) ทักษะในการปฏิบัติต่อลูกค้า 3) คุณสมบัติในการประกอบอาชีพ 4) ภาษาและการสื่อสาร 5) ทักษะในการบริการอาหารและเครื่องดื่ม 6) อนามัยส่วนบุคคล และ 7) ความรู้ในการบริการอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับชุดการเรียนรู้โดยยึดฐานสมรรถนะ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) การพัฒนาด้านความรู้ และ 2) การพัฒนาด้านทักษะ การพัฒนาด้านความรู้นั้น ประกอบด้วยหนังสือเล่มเล็ก 4 เล่ม และแบบประเมินตนเอง 1 เล่ม สำหรับการพัฒนาด้านทักษะ ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมและคู่มือการจัดกิจกรรม เป็นลักษณะอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้ออกแบบสำหรับใช้ในการปฏิบัติจริง ผลการตรวจสอบชุดการเรียนรู้พบว่านักเรียนอาสาสมัครมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมากทุกๆ ด้าน สำหรับผลการปฏิบัติด้านทักษะของนักเรียนอาสาสมัคร พบว่ามีสมรรถนะการบริการอาหารและเครื่องดื่มอยู่ในระดับดีมาก

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2557). แรงงานเด็ก. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2557, จาก http://www.labour.go.th/th/index.php/

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (2552 - 2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

_________. (2556). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2556. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.moe.go.th.

กลุ่มงานนโยบายและแผน. (2556). ข้อมูลนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีการศึกษา 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2.

จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพฯ: ก. พลพิมพ์.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2554). การจัดบริการอาหารและเครื่องดื่ม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชลธิชา บุนนาค. (2553). งานบริการอาหารและเครื่องดื่ม (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชวัลนุช อุทยาน. (2557). ศิลปะการต้อนรับและการบริการ. สืบค้น 4 มิถุนายน 2557, จาก http://servicearts.wordpress.com/8

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และวาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2554). คู่มือการใช้ชุดฝึกอบรม: หน่วยที่ 1 สามัญทัศน์ชุดการเรียนและชุดการสอนรายบุคคล. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประวิทย์ เคียงผล. (2557). งานพาร์ตไทม์สำหรับนักเรียน-นักศึกษาว่างกว่า 2 หมื่นอัตรา. สืบค้น 30 มีนาคม 2557, จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?.

มานิจ คุ้มแคว้น. (2552). การบริการอาหารและเครื่องดื่ม. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์. ราชกิจจานุเบกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

วิกร ตัณฑวุฑโฒ. (2554). การฝึกอบรมอาชีพนอกระบบแบบฐานสมรรถนะ. ความเป็นผู้นำทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเชียร จิตพิเศษ. (2556). อาชีพเสริมระหว่างเรียน. สืบค้น 25 มีนาคม 2556, จาก http://www.Freedomlife2you.com.

ศูนย์บริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.). รูปแบบการพัฒนาคนให้มีสมรรถนะ. สืบค้น 26 มีนาคม 2556, จาก http://www2.diw.go.th/mac/index_comr/forms_1/training2.pdf

สุรชัย จิวเจริญสกุล. (2550). ครบเครื่องเรื่องธุรกิจร้านอาหาร.กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

McCelland, D. C. (1973). Test of Competence, rather than intelligence. American Psychologists,17(7), 57-83.

Tucker, D. L., Smith, F. A., & McCool, A. C. (1994). Dimensions of Noncommercial Foodservice Management. New York: Van Nostrand Reinhold. UNESCO. (2005). Revisiting lifelong learning for the 21st century. Retrieved April 30, 2014, from http://www.unesco.org/education/uie/pdf/revisitingLLL.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08