แนวทางการดำเนินกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตเทศบาลนครขอนแก่น
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การตลาด, ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม, เทศบาลนครขอนแก่นบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการดำเนินกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ศึกษาระดับความเห็นด้วยของผู้บริโภคต่อกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม และเพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการดำเนินกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตเทศบาลนครขอนแก่น พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการจะเน้นการดูแลทำความสะอาดสินค้าเสมอ ด้านราคา ผู้ประกอบการจะกำหนดราคาขายสินค้าตามราคาที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ ด้านการ จัดจำหน่าย ผู้ประกอบการจะจัดเรียงสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ลูกค้าเลือกหยิบสินค้าได้ง่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดผู้ประกอบการจะไม่เน้นทำการโฆษณา การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขาย
2. ผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่นให้ระดับความเห็นด้วยต่อกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
3. ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุและอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับความเห็นด้วยต่อกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่ไม่แตกต่างกัน ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับความเห็นด้วยต่อกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกัน ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับความเห็นด้วยต่อกลยุทธ์การตลาดด้านการจัดจำหน่ายแตกต่างกัน ผู้บริโภคที่มีระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับความเห็นด้วยต่อกลยุทธ์การตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน
4. ข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการดำเนินกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการควรตรวจสอบดูแลความใหม่สด และวันหมดอายุของสินค้าอยู่เสมอ ด้านราคา ควรติดป้ายแสดงราคาสินค้าให้ชัดเจน ด้านการจัดจำหน่าย ควรจัดแสดงสินค้า และจัดวางผังร้านให้ลูกค้าหยิบสินค้าได้สะดวก ด้านส่งเสริมการตลาด ควรปรับปรุงกิริยามารยาทและการพูดจาของพนักงานขายให้เหมาะสม
References
เกยูร ใยบัวกลิ่น. (2552). ผลกระทบของการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีต่อการดำเนินงานของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชว์ห่วย) และความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่. รายงานวิจัยคณะบริหารธุรกิจ. ปทุมธานี: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครขอนแก่น. (2555). ข้อมูลชุมชนเขตเทศบาลนครขอนแก่น. ขอนแก่น: เทศบาลนครขอนแก่น.
ดวงพร เศาภายน. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชวห่วย) กับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (ร้านสะดวกซื้อ) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, สถาบันราชภัฏสวนดุสิต. สืบค้น 21 เมษายน 2557, จาก http://ebooks.dusit.ac.th/sdubook/obcontent.nsp?view=IKNOW&db0=ThesisMarketing&cid_bookid=20041121347286560000003409&cid_chapid=10000000001&sortfield=recid&sortorder=ASCENDING&numresults=10000
นราศรี ไววนิชกุล และ ชูศักดิ์ อุดมศรี. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุริยสาสน์การพิมพ์.
ปราณิดา ศยามานนท์. (2555). อะไรเป็นปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจค้าปลีกในปี 2012 ใหม่ๆ. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2555, จาก http://www.scbeic.com/THA/document/note_20120201_retail/ref:note_20120828_retail
พิชญา จุฑามณีนิล, สุวกิจ ศรีปัดถา,ศิรินทร เลียงจินดาถาวร และลักขณา ศิริจำปา. (2551). แนวทางการปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมตามทัศนคติของลูกค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(3), 55-65.
พีรพล รักษา. (2546). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อร้านค้าปลีกในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2558, จาก http://library.cmu.ac.th/cmul/th/content/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3
ภาวิณี กาญจนภา. (2554). การบริหารส่วนประสมการค้าปลีก และการจัดการเชิงกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม.วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 34(132),38. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2555, จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/sec/11/9215/metamorphshopping/Content/My%20Web%20Sites/research/51/pdf/series1/h01.pdf
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2545 อ้างถึงใน อนุศาสตร์ สระทองเวียน. (2553). ค้าปลีกแบบดั้งเดิมและค้าปลีกสมัยใหม่. สืบค้น14 มิถุนายน 2556, จาก http://www.thaiblogonline.com/sodpichai.blog?PostID=20383
สุจินดา เจียมศรีพงษ์, กฤษฎากร พจมานศิริกุล, เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร, สิริลักษณ์ พิชัยณรงค์ และ นวพร ประสมทอง. (2553). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่ออนาคตของการค้าปลีกที่ยั่งยืน. สืบค้น 21 เมษายน 2557, จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/sec/11/9215/metamorph_shopping/Content/My%20Web%20Sites/research/51/h008.html
สรวัตร ทิพยมงคลกุล. (2555). แรงกดดันในการแข่งขันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม[ออนไลน์]. วารสารธรรมศาสตร์, 31(3). สืบค้น 29 เมษายน 2557, จาก http://164.115.22.25/ojs222/index.php/tuj/article/view/205/200
หอการค้าจังหวัดตาก. (ม.ป.ป.). 15 แนวทางการปรับตัวของค้าปลีกท้องถิ่น เพื่อความอยู่รอด. สืบค้น 23 เมษายน 2557, จาก http://www.takchamber.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=313311&Ntype=3
อนุศาสตร์ สระทองเวียน. (2553). ค้าปลีกแบบดั้งเดิม และค้าปลีกสมัยใหม่. สืบค้น 14 มิถุนายน 2556, จาก http://www.thaiblogonline.com/sodpichai.blog?PostID=20383
K-Econ Analysis. (2555). การเปิดเสรี AEC…โอกาสและความท้าทายต่อผู้ประกอบการค้าปลีกไทย. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2555, จาก http://www.kasikornresearch.com
Kotler, P. (2000). Marketing Managemen:Millennium Edition (10thed) Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
McCarthy, J. & Perreaulty, W., Jr. (1988), Essentials of Marketing (4th/ed). Homewood, IL: Irwin.
Minoo, F., Susana, M. & Joaquim, S. (2000). Consumer and retailer perceptions of hypermarkets and traditional retail stores in Portugal. Journal of Retailing and Consumer Services, 7(4),197-206. Retrieved May 31, 2013, from http://www.sciencedirect.com/science?.
Neilsen Holdings. (2555). FMCG ฟื้นตัว: โมเดิร์นเทรดกลับสู่สภาวะปกติ สะดวกซื้อผลักภาพรวมโต5.3% โชห่วยยังเหนื่อยจากน้ำท่วม. สืบค้น 29 เมษายน 2556, จาก http://www.thaipr.net/tag/สถานการณ์ธุรกิจสินค้า
Sekaran, U. & Bougie, R. (2013). Research Methods for Business: A Skill-Building Approach (6th,ed). West Sussex, UK: John Wiley & Son Ltd..
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น