แนวทางการบริหารจัดการการศึกษานอกโรงเรียนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการการศึกษา, การศึกษานอกโรงเรียนบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการศึกษานอกโรงเรียนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรที่สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนในส่วนกลาง และสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 97 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใน การวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพการบริหารจัดการการศึกษานอกโรงเรียนอยู่ในระดับมาก โดยรายด้านที่อยู่ในระดับมากสี่ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง 2) ด้าน โครงสร้างและการบริหารงาน 3) ด้านบุคลากรทางการศึกษา และ 4) ด้านหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน และอยู่ในระดับปานกลางสองด้าน ได้แก่ 1) ด้านโปรแกรมหรือกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน และ 2) ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล
(2) แนวทางการบริหารจัดการการศึกษานอกโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ นำเสนอสองประเด็น ดังนี้คือ 1) ควรจัดโปรแกรม หรือกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของชุมชน ประชาชนในท้องถิ่น โดยส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการศึกษานอกโรงเรียน และ 2) ควรกำหนดระบบวิธีการ ผู้รับผิดชอบในการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษานอกโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ
References
กรมการจัดตั้งและพนักงาน. (2008). กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฉบับปรับปรุงปี 2007. นครหลวงเวียงจันทน์: โรงพิมพ์หนุ่มสาว.
กระทรวงศึกษาธิการ ส.ป.ป.ลาว (1). (2008). ข้อตกลงรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งและการดำเนินงานของกรมการศึกษานอกโรงเรียน. นครหลวงเวียงจันทน์: กรมการจัดตั้งและพนักงาน.
กระทรวงศึกษาธิการ ส.ป.ป.ลาว. (2009). ข้อตกลงรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งและการดำเนินงานของแผนกศึกษาธิการแขวง/นคร. นครหลวงเวียงจันทน์: กรมการจัดตั้งและพนักงาน.
กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2008). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ 2006-2015. เวียงจันทน์: โรงพิมพ์สีสะหวาด
Best Kahn, J.V. (1993). Research in Education. 7th ed. Boston: Allyn and Bacon.
Kumpha, (2009). Situation Analysis of Non-Formal Education in Lao PDR. Bangkok: UNESCO Bangkok.
Ministry of Education, Lao PDR. (2005). Education for All (EFA) National Plan of Action2003-2015. Department of General Education, Ministry of Education, Lao PDR. UNESCO Bangkok, Education Policy and Reform Unit (EPR)
Tuner & Carlson. (2012). Asia-Pacific Regional Guide to Equivalency Programmes. Bangkok: UNESCO Bangkok.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น