การวิเคราะห์ลักษณะภาษาโฆษณาจากหนังสือพิมพ์เพื่อสร้างแบบฝึกหัดเสริมทักษะวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์, ภาษาโฆษณา, แบบฝึกหัดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะของภาษาโฆษณาจากหนังสือพิมพ์ รายวัน 2) สร้างแบบฝึกหัดเสริมทักษะวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและ 3) ศึกษาความคิดเห็น ของนักศึกษาที่มีต่อแบบฝึกหัดเสริมทักษะที่สร้างขึ้น โดยใช้ข้อมูลภาษาโฆษณาจากหนังสือพิมพ์รายวัน 3 รายชื่อในเดือนธันวาคม พ.ศ.2556 กลุ่มทดลองใช้แบบฝึกหัดเสริมวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้แก่ นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศ จำนวน 32 คนที่เรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ผลของการศึกษาลักษณะการใช้คำของภาษาโฆษณาจากหนังสือพิมพ์รายวัน พบว่า ด้านการใช้คำ มีการใช้คำทั้งหมด 8 ชนิด คือ การใช้คำซ้ำเพื่อเล่นคำ การใช้คำสัมผัสคล้องจองกัน การใช้คำแบบเล่นความหมาย การใช้คำทับศัพท์ การใช้คำตัด การใช้คำสแลง การใช้คำภาษาอังกฤษ และการใช้คำเลียนเสียงพูด ด้านโครงสร้างข้อความ โฆษณาพบ 3 ลักษณะคือ ข้อความโฆษณาเป็นประโยคที่มีโครงสร้างปกติ ข้อความที่เป็นวลี และข้อความที่เป็นโครงสร้างที่ขึ้นต้นประโยคด้วยคำกริยา ด้านเจตนาของการสื่อสารของข้อความโฆษณา มี 6 ลักษณะคือ การเน้นคุณภาพสินค้าและบริการ การเชื้อเชิญให้ทดลองใช้ การเน้นราคาสินค้าและบริการที่ถูก การให้เป็นของขวัญ การร่วมชิงโชคของรางวัลและการมีคุณภาพที่ดีกว่ายี่ห้ออื่น ผู้วิจัยได้นำผลการศึกษาลักษณะภาษามาสร้างแบบฝึกหัดเสริมทักษะได้ 3 แบบฝึกหัด คือ 1) เขียน โฆษณาลงในช่องว่างที่กำหนดให้จากภาพสินค้า 2) บอกถึงประเภทสินค้าและบริการจากโฆษณา ที่กำหนดให้ และ 3) บอกลักษณะของการใช้คำและเจตนาการส่งสารของภาษาโฆษณาว่าเป็นแบบใด ด้านความคิดเห็นของนักศึกษาต่อแบบฝึกหัดเสริมอยู่ในระดับมากขึ้นไปทุกรายการ
References
กัลป์ยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2551). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กาญจนา ปราบพาล. (2541).ครูสอนภาษาและบทบาทที่ต้องปรับเปลี่ยน. ภาษาปริทัศน์, 17(17) ,1-5.
กิ่งแก้ว รัชอินทร์. (2553). แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://kingkaew2010.blogspot.com/2010/11/blog-post_06.htm
ฉลาด สมพงศ์. (2547). การสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสายธารวิทยา อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีษะเกษ สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไซมอน โชติอนันต์ พฤทธิ์พรชนัน. (2554). จิตวิทยาการตลาด (Psychological factors). สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://graduate.east.spu.ac.th/graduate/admin/knowledge/A198Psychological.pdf
ณฐวัตน์ พระงาม. (2555). การติดต่อสื่อสารแบบปฏิสัมพันธ์ในองค์กร. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด.
ดวงเดือน ศรีวัฒนทรัพย์. (2551). การใช้ภาษาไทยในวารสารประชาสัมพันธ์ “TG Update” บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เบญจวรรณ ศริกุล , จินตนา พุทธเมตะ และอัครา บุญทิพย์.(2555). วิเคราะห์ภาษาในแผ่นพับโฆษณาเครื่องสำอางปี พ.ศ. 2551. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(7), 42-54.
บำรุง โตรัตน์. (2543). วิธีการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์.
ปราโมทย์ ชูเดช. (2547). การสร้างแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (รายงานการวิจัย). สมุทรปราการ : ศูนย์บรรณสารสนเทศ.
พรพรรณ แก้วสุทธา. (2542). ลักษณะภาษาที่ใช้ผ่านสื่อโฆษณาด้านนอกรถโดยสาร ขสมก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พาทินธิลักษณ์ ศิริชัย. (2551). ลักษณะโครงสร้างและภาษาโฆษณาในคำโปรยปกแผ่นวีซีดีภาพยนต์ไทย.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิเศษ ชาญประโคน. (2550) . ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ทริบเพิ๊ลกรุ๊ป.
ศิโรจน์ มิ่งขวัญ. (2547).การวิเคราะห์โครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สงบ ลักษณะ.(2551). แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนภาษา. สืบค้น 20 มกราคม 2557, จาก http://www.moe.go.th/main2/article/article7.htm#ar17.1
สมพิศ คงทรง. (2549). การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. มหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต)มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุกัลยา พงษ์หาญพานิชย์. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการใช้ภาษาไทยในโฆษณานิตยสาร สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุชาดา เจริญนิตย์. (2554). การเปรียบเทียบการใช้คำและรูปแบบทางไวยากรณ์ในพาดหัวโฆษณาภาษาอังกฤษในนิตยสารภาษาไทย-ภาษาอังกฤษและนิตยสารภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 31(1) ,80-94.
สุภาวดี สุประดิษฐอาภรณ์. (2550). ปัญหาการตีความข้อความโฆษณา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อภิชัย ต้นกัลยา. (2553). ลักษณะการโฆษณาหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัจฉริยา อาจวงษ์. (2544). ความเป็นภาษาพูดในโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ไทย ใน พ.ศ. 2479 และพ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ: (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิงอร พึ่งจะงาม. (2554). การใช้วัจนกรรมและกลวิธีทางภาษาบนป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งปีพ.ศ. 2554. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุบล โตนาค. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทางภาษาไทยเพื่อพัฒนาความสามารถทางหลักภาษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เอกสิทธิ์ อวยชัยวัฒน์. (2554). การโฆษณาเบื้องต้น. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2557, จาก http://olearning.siam.edu/images/stories/PPT/2_2554/nitade/core/p140203_2.pdf
Larsen-Freeman, D.(2000). Techniques and Principles in Language Teaching. 2nd Ed. Oxford : OUP.
Scarcella, R.C., & Oxford, R.L. (1992). The Tapestry of Language Learning: The Individual in the Communicative Classroom. Boston: Heinle & Heinle.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น