การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียน, นักศึกษาระดับปริญญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษา และเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษา จำแนกตามเพศ คณะที่สังกัด ก่อนและหลังเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษา ทั้ง 12 คณะ ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ปีการศึกษา 2556 จำนวน 954 คน โดยมีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบประมาณค่า 5 ระดับ และ 3) แบบสอบถามปลายเปิด
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ 1.ปัจจัยด้านหลักสูตร 2.ปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอนและ 3.ปัจจัยด้านสวัสดิการและการบริการ
2. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษา จำแนกตามเพศ ก่อนเข้าเรียนและหลังเข้าเรียนมีความคิดเห็นของปัจจัยไม่สอดคล้องกัน แต่เมื่อจำแนกตามคณะที่สังกัดมีความคิดเห็นของปัจจัยสอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่
3. เมื่อพิจารณาในภาพรวม ทั้งจำแนกตามเพศ คณะที่สังกัดก่อนและหลังเข้าเรียนพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์คือปัจจัยด้านหลักสูตรและปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอน
References
กันยา สุวรรณแสง. (2533). การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรับตัว. กรุงเทพฯ : บำรุงสาสน์.
เกรียงศักดิ์ แสงจันทร์ .(2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฉัตรชัย อินทสังข์,ณพรรณ สินธุศิริ,ดุษฎี เทียมเทศ,บุญมา สูงทรง, และปุริม หนุนนัด. (2552). ความต้องการศึกษาต่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ของนักศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ทรงธรรม ธีระกุล, วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์, เสาวนีย์ แสงสีดำ, วารุณี ทิพโอสถ, ศศิธร ดีใหญ่, และโสภิน วัฒนเมธาวี (2553). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล. (2542). สังคมศาสตร์พื้นฐานการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2541). การวิเคราะห์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศในเอเชีย. กรุงเทพ ฯ: เซเว่น พริ้นติ้งกรุ๊ป.
พจมาศ กาญจนสุนทร. (2546). การศึกษาแรงจูงใจในการเลือกเรียนวิชาชีพครูของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .
พิมพ์พร ธรรมวิหารคุณ. (2552). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษม. กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษม.
ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล.(2556). จำนวนนักศึกษาเข้าใหม่ ระหว่างปีการศึกษา 2553-2556. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รุ่ง แก้วแดง. (2543). การปฏิรูปการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในการปฏิรูปการศึกษา: แนวคิดและหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2556).มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2556,จากhttp://th.wikipedia.org.
วินัย เพชรช่วย. (2551). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
สถาบันราชภัฏนครสวรรค์. (2546). รายงานการวิจัย การศึกษาแนวโน้มและความต้องการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสถาบันราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์: สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2557, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/.
สุริยา เสียงเย็น. (2550). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
อัปสร บุบผา. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2557, จาก http://library.cmu.ac.th/faculty/econ.
อารี พันธ์มณี. (2542). จิตวิทยาการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ เฟรส.
Best, J. W. (1989). Research in Education. Englewood Cliffs,New Jersey: Prentice – Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น