งบประมาณจ่ายลงทุนสำหรับบริษัทข้ามชาติ: การจัดทำและการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

ผู้แต่ง

  • ธนิดา จิตร์น้อมรัตน์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจเชิงนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

งบประมาณจ่ายลงทุนสำหรับบริษัทข้ามชาติ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศต่างๆ ในโลกมีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มอาเซียน (Association of South East Asian Nations: ASEAN) กลุ่มอียู (European Union: EU) เป็นต้น เพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการค้าและเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดความร่วมมือช่วยเหลือกันในระหว่างประเทศที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากประเทศหนึ่งไปลงทุนในอีกประเทศหนึ่งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การไปลงทุนข้ามประเทศจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ให้รอบคอบมากกว่าการลงทุนในประเทศของตน ดังนั้น บทความวิชาการนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอกระบวนการวางแผนเพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง ที่เรียกว่าการทำงบประมาณจ่ายลงทุน สำหรับบริษัทข้ามชาติ (Capital Budgeting for Multinational Corporation) โดยเป็นการพิจารณาในมุมมองของบริษัทแม่ (Parent Company) ที่ไปลงทุนตั้งบริษัทลูกหรือบริษัทย่อย (Subsidiary Company) ในประเทศอื่น นอกจากนี้ บทความนี้ยังนำเสนอปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่สำคัญที่ส่งผลต่อการลงทุนในบริษัทข้ามชาติด้วย ได้แก่ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ความเสี่ยงของประเทศที่ไปลงทุนที่ ส่งผลต่อการพิจารณาผลตอบแทนที่ต้องการของการลงทุนและอัตราส่วนลดของการวิเคราะห์โครงการลงทุน กฎเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ ของประเทศที่ไปลงทุนเกี่ยวกับการนำเงินส่งกลับประเทศบริษัทแม่ เป็นต้น โดยแสดงตัวอย่างการวิเคราะห์งบประมาณจ่ายลงทุนสำหรับบริษัทข้ามชาติในแง่มุมต่างๆ ตามปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน

References

Bierman, JR. & Smidt, S. (2007). The Capital Budgeting Decision: Economic analysis of investment projects (9th edition). New York: Taylor & Franics.
Booth, L. D. (1982). Capital Budgeting Frameworks for the Multinational Corporation. Journal of International Business Studies, 13(2), 113-123.
Copeland, T. E., Weston, J. F. & Shastri, K. (2005). Financial Theory and Corporate policy (4th edition). Boston: Pearson Addison – Wesley.
Kim, Suk H., Kim, Seung H., & Kim, Kenneth A. (2002). Global Corporate Finance (5th edition). New York: Blackwell.
Madura, J. (2014). International Financial Management (12th edition). Cincinnati OH: South - Western College.
Seitz, N. & Ellison, M. (2007). Capital Budgeting and Long-Term Financing Decisions (4th edition). Cincinnati OH: South-Western College.
Qun Zhang, Xiaoxia Huang, & Leming Tang. (2011). Optimal multinational capital budgeting under uncertainty. Journal of Computers and Mathematics with Applications, 62(12), 4557-4567.
Shahrokh M. Saudagaran, (2002). Multinational capital budgeting: the additional factors that MNCs must consider while getting into foreign projects. International Accounting — A User Perspective, Book courtesy. New Delhi: Taxmann.
Shapiro, A. C. (2006). Multinational Financial management (8th edition). New Jersy: John Wiley & Sons.
Shapiro, A. C. (1978). Capital Budgeting for the Multinational Corporation. Journal of Financial Management, 7(1), 7-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-13