เกณฑ์ตัดสินความเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐานในสังคมไทยตามหลักสติปัฏฐาน 4
คำสำคัญ:
สติปัฏฐาน 4, กัมมัฏฐาน, สายพุทโธ, สายอานาปานสติ, สายพอง-ยุบ, วิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียนหรือวิธีปฏิบัติแบบเคลื่อนไหว, วิธีแบบสัมมาอะระหังหรือวิธีแบบธรรมกายบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่อง "เกณฑ์ตัดสินความเป็นวิปัสสนาของกัมมัฏฐานในสังคมไทยตามหลัก สติปัฏฐาน 4" โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาวิปัสสนากัมมัฐาน 5 สายในสังคมไทย 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย ในสังคมไทยตามหลักสติปัฏฐาน 4
ผลการศึกษาพบว่า เกณฑ์ตัดสินความเป็นวิปัสสนาของกัมมัฏฐานอยู่ที่การเห็นนามรูปว่าไม่เที่ยง คือมีเกิดแล้วดับเป็นทุกข์คือถูกความเกิดและความดับบีบคั้นให้อยู่ในสภาพเดิมไม่ใด้ และเป็นอนัตตาคือนามรูป ไม่มีตัวตนไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้ ดังนั้นจึงสามารถใช้เกณฑ์นี้มาเป็นเกณฑ์ต้ดสินความเป็นวิปัสนาของกัมมัฏฐานในสังคมไทยตามหลักสติปัฏฐาน 4 สรุปได้ ดังต่อไปนี้
1. วิธีแบบพุทโธ การปฏิบัติตามสายพุทโธเป็นวิสสนากัมมัฏฐานในขั้นตอนที่ 7 เพราะเป็นการวิธีพิจารณา โครงกระดูก มีการใช้สมาธิขั้นสูงเป็นฐานในการเจริญวิปัสสนาคือการเพ่งพิจารณากำหนดรู้ เมื่อพิจารณาตามวิธีการของสติปัฏฐาน จัดเข้าได้กับกายานุปัสสีคือ ตามดูกาย ดูการเกิดดับของกาย ในส่วนของกระดูก ซึ่งเป็นอาการหนึ่งในอาการ 32 จะรู้และสามารถเชื่อมโยงไปถึงอาการส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายได้หมดจนกระทั่งปล่อยวางได้
2. วิธีแบบอานาปานสติ การเจริญวิปัสสนาของวิธีแบบอานาปานสติ ที่เริ่มตั้งแต่ขั้นที่ 12 และจัดเป็นวิปัสสนาญาณ อย่างแท้จริงในขั้นที่ 13 คือ เห็นความไม่เที่ยงคือเกิดดับของปิติสุขและฌาน เมื่อพิจารณาตามวิธีของสติปัฏฐาน จัดเข้าได้กับเวทนานุปัสสนา พร้อมตามดูความเกิดดับในเวทนาและในฌาน
3. วิธีแบบพอง-ยุบ การปฏิบัติตามส่ายพองยุบ จัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐานเริ่มตันที่การกำหนดพอง-ยุบ ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ปฏิบัติสามารถจำแนกได้ว่า "อาการพองยุบนั่งถูก" นั้น เป็นรูป ส่วนการกำหนดรู้ อาการ พองยุบนั่งถูก เป็นนาม จากนั้นใช้วิธีการกำหนดพองยุบซึ่งถือว่าเป็นการกำหนดเกิด ดับ เชื่อมโยงไปถึงการกำหนดหรือตามดูเวทนา จิต และธรรมและการเกิดดับของสภาวะทั้ง 3 นี ซึ่งอาศัยขณิกสมาธิเป็นฐาน และขณิกสมาธิสามารถพัฒนาไปถึงขั้นอุปจารสมาธิ
4. วิธีแบบสัมมาอะระหัง หรือ วิธีแบบธรรมกาย การปฏิบัติสายสัมมาอะระหังหรือแบบธรรมกาย ไม่เป็นวิปัสสนา แม้ว่าจะมีการเจริญวิปัสสนาบ้าง แต่ไม่ชัดนัก คำอธิบายเกี่ยวกับความเป็นวิปัสสนาที่มีจุดยึดสำคัญ คือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นกายที่พันไปจากสามัญญลักษณะ และธรรมกายนี้เองมีวิปัสสนาญาณเป็นตาเห็นสามัญญ ลักษณะ ฉะนั้นหากจะเทียบกับสติปัฏฐานแล้วไม่ถือว่าเป็นวิปัสสนา
5. วิธีแบบหลวงพ่อเทียน หรือ วิธีปฏิบัติแบบเคลื่อนไหว วิธีปฏิบัติของสายนี้จะคล้ายกับวิธีปฏิบัติแบบยุบหนอ-พองหนอ คือ ใช้สติกำกับการเคลื่อนไหวอิริยาบถที่เคลื่อนไหวซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเกิดมีกำลังมากขึ้นสามารถเข้าไปดูความเกิดดับของความคิดและหยุดความคิด ถือว่าเป็นวิปัสสนาที่มีสมาธิเป็นฐานเมื่อได้ผ่านอารมณ์สมมุติแล้ว พัฒนาเข้าสู่การรู้อารมณ์ปรมัตถ์ โดยใช้สติตามดูความคิด
References
ขุร.อ. (ไทย) 17.
ขจ. (ไทย) 30/17/4.
สถาบันจิตภาวนา มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก. (2549). เบญจภาคีกรมฐาน : คู่มือการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ. ปยุตโต) (2551). พจนากรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
มูลนิธิหลวงพ่อสดธรรมกายาราม. (2553). คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย. พุทโธ. อานาปานสติ. พอง-ยุบ. รูปนาม. สัมมาอะระหัง. นครปฐม: เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) พุทธธรรม. (2546). ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2549) สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พระธรรมโกศจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2550). วิปัสสนาในการทำงาน กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พระพุทธ โฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (2546). กรุงเทพ: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.
พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ. 9). (2527). วรรณกรรมไทยเรื่องกรรมทีปนี. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองธรรม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น