ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการให้บริการของรถตู้ประจำทางสายหาดใหญ่ - ยะลา : กรณีศึกษาบริษัทสหยะลาขนส่ง จำกัด

ผู้แต่ง

  • วารีพร ชูศรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ
  • ฐิติรัตน์ สัตย์ชื่อ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์จังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, บริษัทสหยะลาขนส่ง จำกัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการให้บริการของรถตู้โดยสารประจำทางหาดใหญ่-ยะลา บริษัทสหยะลาขนส่ง จำกัด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลทำการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารประจำทางหาดใหญ่- ยะลา บริษัทสหยะลาขนส่ง จำกัด จำนวน 384 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ คำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิด Importance Performance Analysis (IPA) ทดสอบสมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์ ความแปรปรวนของตัวแปรตามหลายตัว (Multivariate Analysis of Variance : MANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ค่เฉลี่ยความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้โดยสารในการใช้บริการ รถตู้ประจำทางหาดใหญ่-ยะลา บริษัทสหยะลาขนฝัง จำกัด ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกำหนดเวลาเดินทาง ด้านราคา ด้านสำรองที่นั่ง ด้านการบริการของพนักงานขับรถ และด้านสภาพของรถที่ใช้บริการอยู่ในระดับมาก ซึ่งในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยความคาดหวัง โดยที่คะแนนความพึงพอใจของผู้โดยสารอยู่ในช่วง 407- 4.18 และคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังของผู้โดยสารอยู่ในช่วง 4.06 - 4.16 เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสารรถตู้ประจำทางหาดใหญ่-ยะลา บริษัทสหยะลาขนส่ง จำกัด ด้วยเทคนิค PA พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสารอยู่ในช่อง Quadrant 2 ซึ่งเป็นช่องที่แสดงให้เห็นถึงความสมดุลระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสาร หมายถึง บริษัทสหยะลาขนส่ง จำกัด สามารถตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารได้ตามที่ผู้โดยสารต้องการ นอกเหนือจากนี้ ผลจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ผู้โดยสารที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคาดหวังในการใช้บริการรถตู้โดยสารแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผู้โดยสารที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้บริการรถตู้โดยสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กชกร เบ้าสุวรรณ. (2550). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตศูนย์สุโขทัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ฐิติรัตน์ สัตย์ชื่อ. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการให้บริการของธุรกิจโฮมสเตย์ในจังหวัดสงขลา (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เธียร โชติกะชีวิน. (2549). สภาพความพร้อมและความคาดหวังในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำภอลอง จังหวัดแพร่ (ปริญญาบริหารการศึกษามหาบัณหิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ปราณี เอี่ยมลออภักดิ์. (2550). การบริหารการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธนาเพรส.

พิลิฐ มหามงคล. (2546). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการใหบริการของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2548). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์. (2549). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Wayne, M. R., & Noe, R. M. (1990). Human Resource Management (4th ed). Boston Allyn and Bacon, A division of Simon & Schuster, Inc.

Wong, M.S., Fearon, C.,& Phillip, G. (2009). Evaluating E- Government in Malaysia : An Importance-Performance Grid Analysis (IPA) of citizens and service providers International. Journal of Electronic Business, 2(7), 105-129.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-13