การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตกในจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • กัลยา สว่างคง คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว, ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว, การจัดการแหล่งท่องเที่ยว, การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตกในจังหวัดสระบุรี โดยให้ผู้เชี่ยวชาญลงสำรวจพื้นที่และประเมินศักยภาพของน้ำตก 4 แห่ง ได้แก่ น้ำตกเจ็ดสาวน้อย น้ำตกมวกเหล็ก ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป้งก้อนเส้า (น้ำตกเจ็ดคด) และน้ำตกดงพญาเย็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว 7 ด้าน

ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมน้ำตกเจ็ดสาวน้อยมีคะแนนเฉลี่ยศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูงที่สุดโดยได้คะแนนเฉลี่ย 4.03 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน รองลมาคือ น้ำตกเจ็ดคด ได้คะแนน เฉลี่ย 3.96 อันดับสามน้ำตกมวกเหล็ก ได้คะแนนเลี่ย 2.75 และอันดับสี่น้ำตกดงพญาเย็น ได้คะแนนเฉลี่ย 1.90 โดยเมื่อพิจารณาศักยภาพทางการท่องเที่ยวเป็นรายด้านพบว่า น้ำตกเจ็ดสาวน้อยมีศักยภาพเด่นในด้านการบริหารจัดการ ด้านการมีชื่อเสียงในปัจจุบัน และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว สำหรับน้ำตกเจ็ดคดมีศักยภาพเด่นในด้านสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว ด้านการมีชื่อเสียงในปัจจุบัน และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว ในขณะที่น้ำตกมวกเหล็กและน้ำตกดงพญาเย็นมีศักยภาพเด่นในด้านความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว

สำหรับข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตกในจังหวัดสระบุรีนั้น ในภาพรวมควรเน้นในด้านคุณค่าและความดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีในแต่ละแหล่งท่องเที่ยวควรเพิ่มการพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้ น้ำตกเจ็ดสาวน้อย ควรจัดให้มีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่หลากหลาย สำหรับน้ำตกเจ็ดคด ควรให้ประชาชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการท่องเที่ยวมากขึ้น ในขณะที่น้ำตกมวกเหล็กควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อให้ความรู้และความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และน้ำตกดงพญาเย็นควรมีหน่วยงานที่ดูแลแหล่งท่องเที่ยวที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ

References

จริญญา ณพิกุล และ วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2555) การศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย สืบค้น 7 กรกฎาคม 2557, จาก http://tar.thailis.or.th/bitstreem/123456789/562/1%E0%8%A7%E0%B8%B4%EO%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%2021.pdf

ณัฏฐกฤษณ์ เอกวรรณัง. (2553). การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์.

ดรรชนี เอมพันธุ์ และ เรณุกา รัชโน. (2550). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาอนุรักษวิทยา.

ททท.เตรียมแผนระยะสั้นรับมือท่องเที่ยวสะดุดหลังรัฐประหาร. สืบค้น 5 มิถุนายน 2557, จาก http://www.kaohoon.com/online/89338

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล และพัชรินทร์ เสริมการดี. (2556). การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการทองเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดนและบ้านโตนป่าหนัน อำภอควนกาหลง จังหวัดสตูล. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(83), 97-112. ประกาศกฎอัยการศึกไม่กระทบท่องเที่ยว สืบค้น 5 มิถุนายน 2557, จาก http://news.ch7.com/detail/71913

มนัส สุวรรณ และคณะ. (2543). คู่มือการบริหารและจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และสภาตำบล (สต.) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

รุจิดา ใหญ่สว่าง. (2552). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย จังหวัดสระบุรี (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รำไพพรรณ แก้วสุริยะ. (2545). ท่องเที่ยวยั่งยืน (ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์) ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. เอกสารการประชุม เชิงปฏิบัติการค้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2545. น.93-96. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

โว ไทย เชือง , พัชรภรณ์ ก้อนสิน, วัฒนาชัย มาลัย และนันทพร สุทธิประภา. (2555). การประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเครือข่ายสามพันโบก, รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 122-129.

ศิริจรรยา ประพฤติกิจ. (2553). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมืองจังหวัดตราด เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสระบุรี. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2557, จาก http://thai.tourismthailand.org/ข้อมูลจังหวัด/สระบุรี/สถานที่ท่องเที่ยว

สมชาย เลี้ยงพรพรรณ. (2547). การศึกษาศักยภาพของแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในบริเวณทะเลสาบสงขลา. รวมบทความวิจัยการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

สมาพร คล้ายวิเชียร, เกษสุดา บูรณพันศักดิ์ และกัญธิมา นาคินชาติ. (2550). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างในอีสานใต้. บุรีรัมย์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราขภัฏบุรีรัมย์.

อารยา อินคชสาร. (2554). การประเมินศักยภาพของตลาดน้ำวัดกลางคูเวียงเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณทิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อระนุช โกศล และ โชคชัย สุทธาเวศ. (2557). การจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(1), 220 - 232.

Marzuki, A., Hussin, A.A., Mohamed B., Othman, A.G. & Mat Som, A.P., (2011). Assessment of nature-based tourism in South Kelantan, Malaysia. Tourismos: An International Multidisciplinary Journal of Tourism, 6 (1), 281 - 295.

Mehmetoglu, M. (2007). Typologising nature-based tourists by activity-theoretical and practical implications. Tourism Management, 28, 651 – 660.

Naidoo, P., Ramseook-Munhurrun, P. & Seegoolam, P. (2011). An Assessment of visitor satisfaction with nature-based tourism attractions. International Journal of Management and Marketing Research, 4(1), 87 – 98.

Priskin, J. (2001). Assessment of natural resources for nature-based tourism: the case of the Central Coast Region of Western Australia. Tourism Management, 22, 637 - 648

Swarbrooke, J. (1999). Sustainable Tourism Management. Oxford: CABI Publishing. World Tourism Organization. (2001). Sustainable Development of Ecotourism A Compilation of Good Practices. World Tourism Organization

Yukel, A. & Yukel, F. (2002). Measurement of tourist satisfaction with restaurant services: a segment-based approach. Journal of Vacation Marketing, 9(1), 52-68

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-13