สัญศาสตร์และความหมายที่แปรเปลี่ยน

ผู้แต่ง

  • ปรวรรณ ดวงรัตน์ หมวดวิชาพื้นฐานทางศิลปะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สัญศาสตร์, สัญวิทยา, สวัสติกะ, นาซี

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “สัญศาสตร์และความหมายที่แปรเปลี่ยน” กล่าวถึง การแปรเปลี่ยนความหมาย ของสัญญะที่เกิดขึ้นจากการตีความตามบริบทที่แตกต่างกันของสังคม สาระสำคัญของบทความนำเสนอให้เห็นถึง ความหมายและความสำคัญของสัญศาสตร์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตีความหมายสัญญะที่ส่งผลให้เกิดความหมายที่แปรเปลี่ยนไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตีความหมายสัญญะที่แปรเปลี่ยนไปจาก ความหมายเดิม และการคาดการณ์ถึงความแปรเปลี่ยนในการตีความสัญญะที่จะส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของคนในสังคม จากการศึกษากรณีตัวอย่างเครื่องหมาย “สวัสติกะ” ด้วยวิธีการ วิเคราะห์และค้นหาความหมายตามแนวคิดเรื่อง “มายาคติ” ของ โรล็องด์ บาร์ต ที่กล่าวถึงการอ่าน รูปสัญญะที่ความหมายถูกทำให้ว่างเปล่า ว่าเป็นการปล่อยให้ความหมายเป็นไปตามตัวอักษรที่อธิบาย หรือตามที่สังคมส่วนใหญ่เข้าใจ การตีความสัญญะที่เกิดขึ้นนั้นมุ่งเน้นการให้อิสระกับผู้ตีความโดย ไม่ต้องการให้มีสิ่งใดมาเป็นเงื่อนไขของการตีความ

ผลของการวิเคราะห์และประมวลความคิดประกอบเหตุการณ์สำคัญของโลกที่เป็นเหตุปัจจัย ส่งผลกระทบมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าการที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งจะเกิดการตีความความหมายที่แปรเปลี่ยนไปจากความหมายดั้งเดิมนั้น มีอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมหรือบริบทของสังคมนั้นเป็นสำคัญ เหตุการณ์สะเทือนขวัญอาจนำมาสู่การสร้างความหมายใหม่ของสัญญะที่ขัดแย้งกัน อย่างสิ้นเชิงจากจุดเริ่มต้นของการใช้สัญญะนั้น มนุษย์เรียนรู้การสร้างความหมายใหม่จากความทรงจำ ผสมผสานกับค่านิยมในสังคมปัจจุบัน การที่จะสามารถยอมรับและสร้างความเข้าใจได้กับความหมายที่ แปรเปลี่ยนไปนี้อาจต้องทำความเข้าใจให้ได้อย่างถ่องแท้ถึงความหมายที่แท้จริงนั้นด้วย เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้และยอมรับในความแตกต่างกันทางความคิดที่จะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมในที่สุด

References

กนกศักดิ์ แก้วเทพ และปัทมวรรณ เนตรพุกกณะ. (2551). การโฆษณาที่อยู่อาศัย: บทวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ การเมือง. ใน พิทยา ว่องกุล บรรณาธิการ. วิกฤติสื่อมวลชน: ยุคจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ บุ๊คเซ็นเตอร์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2555). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยม กับการศึกษารัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วิภาษา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). สวัสติกะ. สืบค้น 17 สิงหาคม 2557, จาก http://www.royin.go.th/th/home/.

ทีมข่าวอาชญากรรม. (2556). จับรถติดธงชาติ...ด่าตำรวจขี้ข้าเลือกข้าง. สืบค้น 13 ธันวาคม 2556, จาก http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9560000143146/.

วรรณพิมล อังคศิริสรรพ. (2551). มายาคติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ด ยูเคชั่น จำกัด มหาชน.

สยามคเณศดอทคอม. (2556). สวัสดิกะสัญลักษณ์แห่งความเจริญเครื่องหมายเฉพาะแห่งองค์พระพิฆเนศ. สืบค้น 13 ธันวาคม 2556, จาก http://www.siamganesh.com/sawastika.html.

สันติ ลอรัชวี. (2547). สวัสดิกะ. สืบค้น 13 ธันวาคม 2556, จาก http://boyish.exteen.com/20070405/entry/

สมเกียรติ ตั้งนะโม. (2546). สัญศาสตร์ การศึกษาเรื่องเครื่องหมาย. สืบค้น 13 ธันวาคม 2556, จาก http://v1.midnightuniv.orgmidarticle/newpage12.html

Curtin, B. (2551). Semiotics and Visual Representation. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 1(57)35-50.

Shaughnessy, M. & Stadler, J. (2002). Media and Society: An Introduction. Oxford University Press.

Meggs, P. & Purvis, A. (2006). History of Graphic Design. John Wiley & Sons, Inc,: United States of America.

Heller, S. (2010). The Sawastika, Design Literacy-understanding Graphic Design. Allworth Press : New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-14