การบริหารความสุขในสถานศึกษา
คำสำคัญ:
ความสุขในการทำงาน, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู, การบริหารความสุขในสถานศึกษาบทคัดย่อ
ในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารเชื่อมโยงถ่ายโอนกันอย่างรวดเร็ว และเกิดการสร้างชุดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคแห่งสังคมอุดมปัญญา อีกทั้งจากสภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันทางด้านการค้าและการลงทุนที่แข่งขันกันด้วยทุนทางปัญญาและการสร้างนวัตกรรม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะการแข่งขันแค่ภายในประเทศ แต่เป็นการแข่งขันในระดับ ภูมิภาคและระดับสากล จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สถาบันการศึกษาและครูผู้สอนจึงถูกคาดหวังให้เป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของสังคมและพัฒนาเยาวชนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่จะสามารถแข่งขันในระดับสากล สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่มีเจตนารมณ์ให้ผู้เรียนมีความเก่ง ดีและมีความสุข แต่ท่ามกลางสภาพปัญหา เศรษฐกิจ สังคม ในปัจจุบันผู้คนต่างเร่งรีบในการทำงานเพื่อสร้างรายได้ในการเลี้ยงชีพตนและครอบครัว ทำให้เกิดความเครียดจากการทำงาน ครูเป็นอีกวิชาชีพหนึ่งที่ประสบปัญหาในการทำงานมาก เช่น ปัญหาจากพฤติกรรมของผู้เรียน ปัญหาด้านการจัดการภายในสถานศึกษา ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและประสิทธิภาพของการทำงานของครูสอนทั้งสิ้น ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายของนักบริหารการศึกษาที่จะต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารการศึกษา โดยการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง มุ่งเน้นการเพิ่มคุณค่าของบุคคลในองค์กรสู่การเป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจในการพัฒนา การสร้างองค์กรแห่งความสุข หรือโรงเรียนแห่งความสุข ด้วยกระบวนการค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู และนำไปประยุกต์ใช้ภายในองค์กรอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ จนกลายเป็นวัฒนธรรมความสุขของสถานศึกษา แต่จะต้องควบคู่ไปกับวัฒนธรรมการทำงานที่มีคุณภาพซึ่งจะเกิดผลดีกับทั้งระดับตัวบุคคลที่จะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในการทำงาน อีกทั้งเป็นผลดีกับระดับสถานศึกษาที่จะส่งผลให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่น มีประสิทธิภาพและมีผลิตภาพ (Productivity) สูงยิ่งขึ้น ที่เกิดจากบุคลากรภายในสถานศึกษาร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน มีความกระตือรือร้น รักและผูกพันต่อองค์กร ได้รับการประเมินผลงานที่ดี สถานศึกษามีชื่อเสียงและผลดี ที่สำคัญที่สุดก็คือผู้เรียนได้เรียนรู้จากครูผู้สอนที่ทุ่มเทในการทำงานอันเกิดจากการสร้างความสุขในสถานศึกษา
References
กนกพร นิตย์นิธิพฤทธิ์ และณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2553). ความสุขหน้า มณฑลความรู้ใหม่ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์. (2554, กรกฎาคม-กันยายน). สุขสร้างได้ในองค์กร. วารสารสื่อพลัง, 19(3) 26-31 สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2555 จาก http://www.pttplc.com/Files/Document/energy_mag/54_3/03.pdf
แก้วตา ไทรงาม. (2550). การวิจัยการติดตามสภาวการณ์ครูรายจังหวัด (Teacher Watch) และการสร้างตัวแบบการพัฒนาครูที่ตอบสนองสภาวการณ์และปัญหาในการทำงานของครู (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548. (2548, 5 กันยายน)
ราชกิจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 76 ง. น. 39-46.
จีระ หงส์ลดารมภ์. (2555). 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: Chira Academy.
ชนิกา ตู้จินดา. (2552). Happy 8 Workplace ความสุข 8 ประการในที่ทำงาน. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2555, จาก http://www.thaihealth.or.th/node/12827
ธร สุนทรายุทธ. (2553). การบริหารจัดการเชิงจิตวิทยา : หลักการ การประยุกต์ และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์จำกัด.
นภาภรณ์ พิพัฒน์. (2550). เปิดโลกความสุข GNH (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มติชน.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
พระพรหมคุณาภรณ์.(ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์.(ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). คู่มือชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม
เลยาร์ด ริชาร์ด. (2550). ความสุข : หลากหลายข้อค้นพบของศาสตร์ใหม่แห่งความสุข = Happiness :Lessons from a New Science (พิมพ์ครั้งที่ 1). แปลโดย รักดี โชติจินดา และเจริญเกียรติ
ธนสุขถาวร. กรุงเทพ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษาร่วมกับสำนักพิมพ์สวนเงินมีมา. (ชุดสังคม)
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2552). งานได้ผล คนเป็นสุข Healthy Organization Productivity. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ตะวันออก.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ (2556). 123 สู่การเป็นองค์กร แห่งความสุข. กรุงเทพฯ: สองขาครีเอชั่น.
APA Practice Organization. (2010). The Awards. Retrieved November 13, 2012 from http://www.phwa.org/awards/
Hackman, J. R., & Oldham, G. R. (1980). Work Redesign. Reading, Mass.: Addison-Wesley
Kjerulf, A. (2007). Praise for Happy Hour is 9 to 5. Petersburgหน้า Alexander . Retrieved December 15, 2012, from http://www.worldblu.com/pdf/blog/happyhouris9to5.pdf
Martin, A. J., Jones, E. S. & Callan, V. J. (2005). The Role of Psychological Climate in Facilitating Employee Adjustment During Organizational Change. European Work and Organizational Psychology. 14 (March): p.263–289.
National Heart Foundation of Australia. (2011). Healthy Workplace Guide. Heart Foundation Cardiovascular Health Admin Officer. :East Sydney Australia
Shereen, H. E. (2012). The Happiness at Work Survey Masterclass with Nic Retrieved December 15, 2012, from, From www.deliveringhappinessatwork.com
United Nations. (2012). Resolution adopted by the General Assembly 66/281. International Day of Happiness. General Assembly. Sixty-sixth session Agenda item 14: United Nations Retrieved May 11, 2013, from http://www.un.org/ga/search/view_doc.asp?symbol=%20A/RES/66/281
Warr, P. (2007). Searching for Happiness at Work. The Psychologist. 20(12) p. 726-729
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น