ความต้องการความคาดหวังและความพึงพอใจในการใช้ประโยชน์จากการใช้เฟสบุ๊คเพื่อเลือกซื้อเครื่องสำอางสำหรับใบหน้าของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พนารัตน์ ลิ้ม ภาควิชาการสื่อสารการตลาด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ความต้องการ, ความคาดหวัง, การใช้และความพึงพอใจในสื่อ, เครื่องสำอาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความต้องการข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดและความคาดหวังในการใช้ประโยชน์จากเฟสบุ๊คเพื่อเลือกซื้อเครื่องสำอางสำหรับใบหน้า และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดและความคาดหวังในการใช้ประโยชน์จากเฟสบุ๊คกับความพึงพอใจในการใช้ประโยชน์จากเฟสบุ๊คเพื่อเลือก ซื้อเครื่องสำอางสำหรับใบหน้าของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การ ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) T-test, One-way ANOVA ระดับนัยสำคัญ 0.05 และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlations Coefficient) ระดับนัยสำคัญ 0.01 ผลการวิจัยพบว่า เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกันมีผลต่อความต้องการข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดจากการใช้เฟสบุ๊ค เพื่อเลือกซื้อเครื่องสำอางสำหรับใบหน้า และความคาดหวังในการใช้ประโยชน์จากเฟสบุ๊คของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน ความต้องการข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดและความคาดหวังในการใช้ประโยชน์จากเฟสบุ๊ค มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้ประโยชน์จากเฟสบุ๊คเลือกซื้อเครื่องสำอางสำหรับใบหน้าของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับปานกลางและไปในทางเดียวกัน

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑามณี คายะนันทน์. (2554). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟสบุ๊คดอทคอม (รายงานโครงการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาลีรัตน์ จำรัสพร. (2547). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ http://www.thaigo.ore ของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุติมา ผิวเรืองนนท์. (2545). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอนทางไกลระบบสื่อสารสองทางของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ส่วนภูมิภาค. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ญาดา มะลิทอง. (2551). พฤติกรรมการใช้ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการทำหน้าที่ของอินเทอร์เน็ต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2556). รายงานผลการวิจัยเรื่องบทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและ อัตลักษณ์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง. (2555). เปิดร้านขายของบน Facebook อย่างไรให้มากกว่าแคตตาล็อค. สืบค้น 27 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.marketingoops.com/media-ads/social-media/facebook-socialmedia-digital/facebook-shop/

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ. (2555). เจาะเทรนด์กลยุทธ์ Social Media ไทยในปี 2013. สืบค้น 27 พฤศจิกายน 2555, จาก http://www.pawoot.com/social-media-trend-2013.

มนต์ชัย ศรีเพชรนัย. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่นในเขต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2543). หลักการตลาด. บริษัทธีระฟิลม์และไซเท็กซ์ จำกัด.

_________________________.(2549). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). จำนวนผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ประจำปี 2549–2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2556). ทฤษฏีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ระเบียงทอง.

อัมพร แซ่โซว. (2556). พฤติกรรมการใช้ Facebook และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Facebook ของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Hudson, S., Roth, M.S., & Madden, T.J. (2012). Customer Communications Management in the New Digital Era. Center for Marketing Studies Darla Moore School of Business University of South Carolina.

iMarketing Team. (2554). iMarketing 10.0. Bangkok: Provision, p.394-395.

McCombs, M.E., & Becker, L.B. (1979). Using Mass Communication Theory. Englewood Cliffs, New jersey: Prentice Hall.

Palmgreen, P., Wenner, L.A., & Rayburn, J.D. (1981). Gratification discrepancies and news program choice. Communication Research, 8, p.451-478.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-14