การพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • เกสรี ลัดเลีย สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

เครือข่ายการจัดการศึกษา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของเครือข่าย 2) ศึกษาองค์ประกอบของเครือข่าย และ 3) พัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาเครือข่าย ประชากรที่ศึกษาเป็นเครือข่าย จำนวน 113 เครือข่าย และผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย นักวิชาการ ศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ดูแลเด็ก จำนวน 769 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 แบบ คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพและปัญหาของเครือข่าย และเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาเครือข่าย และ 2) แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลขององค์ประกอบเครือข่าย ผลการวิจัยคือ 1) สภาพของเครือข่ายคือ ประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2-7 ศูนย์ พบร่องรอยของการดำเนินการด้านยุทธศาสตร์ การกำหนดโครงสร้าง การดำเนินกิจกรรม ระบบสารสนเทศ การพัฒนาบุคลากรและการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและมีปัญหาคือ ขาดองค์ความรู้ ขาดการมีส่วนร่วม และขาดการสนับสนุนจากผู้บริหาร 2) องค์ประกอบของเครือข่าย มี 4 องค์ประกอบคือ การจัดการเครือข่าย กระบวนการดำเนินงานเครือข่าย ปัจจัยการขับเคลื่อนเครือข่ายและยุทธศาสตร์เครือข่าย และ 3) แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาเครือข่าย ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ แนวทางการพัฒนาเครือข่าย กระบวนการพัฒนาเครือข่าย เงื่อนไขความสำเร็จเครือข่าย และข้อเสนอแนะการพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมคุณภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพลส.

_________________________. (2549). การคิดเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์ (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรประภา อัครบวร และประยูร อัครบวร. (2552). การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย (Governing by Network). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ก.พลพิมพ์.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ และอนุศักดิ์ ตั้งปณิธานวัฒน์. (2553). การส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประยูร อัครบวร, ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และกมลทิพย์ ศรีหาเศษ. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, เก็จกนก เอื้อวงศ์ และนงเยาว์ อุทุมพร. (2554). การจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ,: พริกหวานกราฟฟิก.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์. (2553). มองข้ามโลกาภิวัฒน์ : กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารการศึกษา ในไพฑูรย์ สินลารัตน์, ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ : กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. (น.19). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2551). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ : กรณี การจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-ภาษามลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้.วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 1(1), 7.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การสร้างเครือข่ายสังคมเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมการพัฒนาองค์กรทางการศึกษา : บทเรียนภาคสนามจากโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานการสังเคราะห์ผลการวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Banks,J.A. (1994). An introducation to multicultural education. Washington: Allyn and Bacon.

___________. (1994). Multiethnic education : Theory and practice. Washington: Allyn 'and Bacon.

___________. (2009). The Routledge International Companion to Multicultural Education. New York: Routledge Taylor & Francis Group.

Cortes, E.C. (1996). Preparing for multicultural future. Principle. (76),16-20.

Goldsmith, S.,& Eggers, W.D. (2004). Governing by network : The New Shape of the public sector. Washington, DC.: The Brooking Institution.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-14