การใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย สำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา, เครือข่ายสังคมออนไลน์, การส่งเสริมความรู้และทักษะ, ด้านพัฒนาการเด็ก, ปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงความรู้ความเข้าใจและทักษะที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กระดับปฐมวัย 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านพัฒนาการของเด็กระดับปฐมวัย สำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรี 3) เพื่อทดลองใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในการจัดการส่ง เสริมความรู้และทักษะด้านพัฒนาการของเด็กระดับปฐมวัย สำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรี การดำเนินการวิจัย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การประมวลความรู้ความเข้าใจและทักษะที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กระดับปฐมวัย โดยศึกษาและวิเคราะห์จากเอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันในการส่งเสริมความรู้และทักษะด้าน พัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย สำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรี ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบการใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการจัดการส่งเสริม ความรู้ความเข้าใจและทักษะด้านพัฒนาการของเด็กระดับปฐมวัย สำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรี และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนากระบวนการจิตตปัญญาและเครือข่ายสังคม ออนไลน์ในการจัดการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านพัฒนาการของเด็กระดับปฐมวัยสำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรี
ผลการวิจัยพบว่า 1) สาระความรู้และทักษะด้านพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัยสำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรีครอบคลุม 11 เรื่อง 2) การส่งเสริมความรู้และทักษะด้านพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัยสำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรี โรงเรียนจัดการให้ความรู้ในรูปของกิจกรรมและโครงการต่างๆ รวมทั้งมีการจัดการให้ความรู้เรื่องหลักสูตร, การเรียนการสอน, ระเบียบวินัย, การดูแลเด็ก, ความรู้เรื่องโรคระบาดต่างๆ ตามฤดูกาล โดยให้ความรู้ผ่านการพบปะพูดคุยกันระหว่างครูกับผู้ปกครองและการสื่อสารผ่านสมุดสื่อสารระหว่างบ้านและโรงเรียน รวมถึงการเชิญวิทยากรเฉพาะทางมาให้ความรู้กับผู้ปกครองและนักเรียน 3) การทดลองการประยุกต์ใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านพัฒนาการ ของเด็กระดับปฐมวัย 3.1) การทดลองใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษามี 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) สร้างความสัมพันธ์ 2) ล้อมวงสนทนาแบ่งปันความรู้ 3) สุนทรียสนทนา 4) สะท้อนความคิด 3.2) การส่งข้อความรู้ทางเครือข่ายสังคมออนไลน์แบบ Facebook พบว่าผู้ปกครองทั้ง 2 กลุ่มกด Like อยู่ระหว่าง 10 - 23 ครั้ง และแสดงความคิดเห็นอยู่ระหว่าง 1-20 ความคิดเห็น ทั้งนี้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น หลังเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
เครือข่ายสังคมออนไลน์. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.ictlow.dusit.ac.thdoc/02.pdf
Facebook Overview Statistics. (2012). November 2012, http://www.socialbakers.com/facebook-overview-statisitcs/
จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร. (2550). การวิจัยและพัฒนาจิตตปัญญาศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา.(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐิติกานต์ นิธิอุทัย. (2554). Facebook Marketing. กรุงเทพฯ: ดรีม แอนด์ แพชชั่น.
นภเนตร ธรรมบวร. (2549). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประเวศ วะสี. (2549). การศึกษาสมบูรณ์แบบ: คือวงกลมที่คุ้มครองโลกถึงที่สุด. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2547). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา. (2552). จิตตปัญญาศึกษาคืออะไร. นครปฐม.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาศึกษาศาสตร์. (2536). พัฒนาการเด็กและการเลี้ยงดู. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.
ศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2546). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการสู่การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช/2546 จากแกนกลางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เอกสารอัดสำเนา).
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การวัดและประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สุชา จันทร์เอม. (2542). จิตวิทยาพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
เสน่ห์ เสาวพันธ์. (2554). การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาโรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Eisner, E. W. (2002). Handbook of Research and Policy in Art Education Association: Lawrence Erlbaum Associates.
Seguin, A., & Seguin, C. (1995). Window to the World. Vocational Education Journal, 70, 30-33.
Sheridan, S.M., Marvin, C.A., Knoche, L.L., & Edwards, C.P. (2008). Getting Ready: Promoting school readiness through a relationship-based partnership model.
Early Childhool Services: An Interdisciplinary Journal of Effectiveness, 2, 149-172
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น