การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก : กรณีศึกษาของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม

ผู้แต่ง

  • ไพศาล มั่นอก สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม, นักเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม 2) พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม 3) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สภาพคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม ก่อนดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม พบว่า นักเรียนในโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคมมีคุณธรรมจริยธรรม 4 ด้านโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) การมีความเพียร 2) การมีความขยันอดทน 3) การมีสติปัญญา และ 4) การมีความซื่อสัตย์สุจริต

2. ผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคมในรอบที่ 1 ในการ วางแผนคณะผู้วิจัยใช้กลยุทธ์ 5 อย่าง ได้แก่ 1 ) กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม 2) กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม 3) กลยุทธ์วันพุธพบพระละกิเลส 4) กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในชีวิตประจำวัน และ 5) กลยุทธ์ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ 6 กิจกรรมย่อย คือ กิจกรรมการปลูกมะนาว กิจกรรมการปลูกผักพื้นบ้าน กิจกรรมการเลี้ยงปลา กิจกรรม การเลี้ยงกบ กิจกรรมการเพาะเห็ดภูฏาน และกิจกรรมการทำนาข้าวหอมนิล ผลการปฏิบัติการในรอบแรกตามกลยุทธ์ 5 กลยุทธ์ พบว่า นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ในวงรอบที่ 2 ของการปฏิบัติการ ผลการปฏิบัติการพบว่า นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมโดยภาพรวมค่าเฉลี่ย ระดับมากที่สุด

3. ผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม หลังจากการปฏิบัติการทั้ง 2 วงรอบของการปฏิบัติการ พบว่า หลังการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกลยุทธ์ทั้ง 5 กลยุทธ์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) การมีความซื่อสัตย์สุจริต 2) การมีความขยันอดทน 3) การมีสติปัญญา และ 4) การมีความเพียร

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ (2544). เอกสารแนะแนวเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพพ่อแม่ผู้ปกครอง ชุดพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรม และจริยธรรม ฉบับที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จรัล ถาวร. (2529). พฤติกรรมนักเรียนที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทองย่อม สาครสูงเนิน. (2549). การศึกษาพฤติกรรมการบริหารด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ทัศนีย์ ผลเนืองมา และ ภาสนีย์ วรรณีเวชศิลป์, จุฑาภรณ์ สุวรรณเปี่ยม, กัญญา คงคานนท์, ปริมวดี ประยุรสุข, และองอาจ บุญรักษ์ (2547). การวิจัยรูปแบบของการจัดประสบการณ์เพื่อปลูกฝังจริยธรรมแก่เด็กนักเรียนด้วยการสอนเป็นคณะ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม.

พระครูประโชติจันทวิมล. (2555). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศหอวัง นนทบุรี. (ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พิทักษ์ สุวรรณชาติ. (2546). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านโนนค้อ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพ็ญศรี เปลี่ยนขำ. (2550). วิถีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก, 2(1), 27-33

สุทัศน์พงษ์ กุลบุตร. (2550). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษา. กรุงเทพฯ, ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มงคลสิน เตชะนิยม. (2550). การศึกษาการปฏิบัติงานโครงการเสริมทักษะระเบียบวิจัยครู และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.

รัชนี ยมศรีเคน. (2551). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนอนุบาลกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) (สาขาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม. ถ่ายเอกสาร.

รงค์ ประพันธ์พงศ์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฏีใหม่. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

สมเดช ใจหวัง. (2547). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านไทร อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2555). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. มปพ.

สุภาพร สุขสวัสดิ์. (2552). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). รายงานสภาวะสังคมประจำปี 2552. สำนักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร.

อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2542). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

โรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม. (2555). แผนปฏิบัติการโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม. อ่างทอง.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (Eds.) (1990). The action research reader. Victoria: Deakin University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-14